top of page

คิดหัวข้อวิจัย ทำยังไงดี?

เราจะเริ่มคิดหัวข้อวิจัยได้อย่างไร วันนี้เรามี Tips ง่าย ๆ มาฝากกันค่ะ

  • จากประสบการณ์ของผู้ทำวิจัยเอง (Personal experience)

    • เกิดจากความสงสัยในปรากฎการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ความสงสัยเหล่านี้เราสามารถนำมาแตกประเด็นเป็นคำถามในงานวิจัยของเราได้

  • การอ่านจากแหล่งต่าง ๆ (Reading)

    • การอ่านทำให้เราสามารถสร้างฐานองค์ความรู้ที่เพียงพอแก่การสร้างประเด็นคำถามวิจัย อาจจะมาจากการค้นพบว่าปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการศึกษา หรือ อ่านแล้วต้องการวิจัยเพื่อเสนอแย้งกับข้อมูลเดิม

  • ข้อเสนอแนะจากการวิจัย (Suggestion for further studies)

    • งานวิจัยที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะทำการกำหนด “ข้อเสนอเพื่อการวิจัยในอนาคต” ไว้ท้ายเล่มรายงาน (ในส่วนของข้อเสนอแนะ) เราอาจจะลองทำความเข้าใจและทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นวิจัยที่เราสนใจ แล้วพิจารณาว่า ข้อเสนอแนะเพื่องานวิจัยในอนาคตของงานวิจัยที่เรากำลังทบทวนนี้ ตรงกับความสนใจของเราหรือไม่

  • จากผู้นำทางวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ (Through the experts)

    • สังเกตจากประสบการณ์ตรงก็แล้ว อ่านทบทวนก็แล้ว ยังไม่เจอประเด็นที่น่าสนใจ ลองพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านที่เราสนใจดู (อย่าเพิ่งไปมองที่ไหนไกล ที่ปรึกษาเราเองนั่นแหละ) เพื่อสอบถามให้ทราบถึงภาพกว้างของประเด็นนั้น ๆ มีส่วนไหนไหมที่ยังไม่ได้มีการศึกษา มีส่วนไหนไหมที่เราอยากจะไปศึกษาเพื่อเปิดกว้างประเด็นและสร้างองค์ความรู้เพิ่มเติม

  • จากแหล่งทุนอุดหนุน (Contribution)

    • แหล่งทุนอุดหนุนหลายแหล่งจะมีการประกาศหัวข้อในการทำวิจัยเอาไว้ เนื่องจากได้รวบรวมงานวิจัยไว้มากมาย แต่พบปัญหาที่ยังไม่ได้ถูกศึกษาและยังไม่ได้รับคำตอบ หากเราสนใจประเด็นที่ตรงกับที่แหล่งทุนเสนอไว้ ก็สามารถนำประเด็นดังกล่าวมาสร้างเป็นหัวข้องานวิจัยของเรา หากเราต้องการขอรับทุนอุดหนุน ก็สามารถทำการเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนอุดหนุนงานวิจัยของเราได้ด้วย อย่างไรก็ตาม เราจะต้องมั่นใจด้วยว่า งานวิจัยของเราจะต้องมีคุณภาพที่พร้อมกับการแข่งขันกับโครงงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ

#theTSISThailand

bottom of page