top of page

ทำวิจัย...ทำไมต้องออกแบบ ?

Cover Note_Research-05.png

การออกแบบการวิจัย เป็นการวางโครงสร้างเฉพาะของการวิจัย ซึ่งจะครอบคลุม การออกแบบ การสุ่มตัวอยาง การออกแบบการวัด และการออกแบบการใช้สถิติที่เหมาะสม การออกแบบการวิจัยจึงเป็นขั้นตอนในการเตรียมแผนงานก่อนจะดําเนินการวิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยทําการวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ที่จะนํามาใชในการวิจัยเพื่อตอบปัญหาที่ผู้วิจัยเลือก
 

ประเภทของการออกแบบการวิจัย มีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับผู้วิจัย ว่าจะเลือกใช้เกณฑ์ใด

1. แบ่งตามเกณฑ์จุดมุ่งหมาย (End–sought of research) เพื่อค้นพบองค์ความรู้ใหม่, ทดสอบทฤษฎี และนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ มีดังนี้

1.1) มุ่งสํารวจ (Survey/Explore)

1.2) เพื่อบรรยาย-พรรณนา(Describe)

1.3) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์/อธิบายในเชิงสาเหตุ (Explanation/Prediction)

1.4) เพื่อควบคุม (Control) นับเปนการวิจัยแบบทดลอง 

 

2. แบ่งตามเกณฑ์การเปรียบเทียบผลการศึกษา

2.1 หากศึกษาเพียงกลุ่มเดียว โดยไมมีการเปรียบเทียบผลการศึกษา ระหวางกลุ่มของประชากร/กลุ่มตัวอยาง เรียกว่า รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study design)

2.2 รูปแบบการวิจัยที่มักจะมีประชากรที่ศึกษามากกว่าหนึ่งกลุ่ม และมีการเปรียบเทียบผลการวิจัย ระหว่างกลุ่มของประชากร เรียกว่า รูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical study design)

 

3. แบ่งตามเกณฑ์ให้ปัจจัย / Tretment

3. 1 รูปแบบการวิจัยที่ผู้วูิจัยมิให้ปัจจัยใดๆ เพียงแต่เฝ้าติดตามและสังเกตผลที่เกิดขึ้นกับประชากรที่ศึกษา เรียกว่า การวิจัยเชิงสังเกต
(Observational study design)

3.2 รูปแบบการวิจัยที่ผู้วิจัยให้ปัจจัย และมีการวัดผลที่เกิดจากปัจจัยนั้น เรียก่วา รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental study design)

 

4. แบ่งตาม เกณฑ์มิติของเวลา  

4.1 รูปแบบการวิจัยที่กระทําโดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่แล้วในอดีต เรียกว่า รูปแบบการวิจัยเชิงศึกษายอนหลัง
(Retrospective study design)

4.2 รูปแบบการวิจัยที่กระทําโดยอาศัยข้อมูลที่เก็บตั้งแต่ปัจจุบันต่อไปในอนาคต เรียกว่า รูปแบบการวิจัยเชิงศึกษาไปข้างหน้า
(Prospective study design)

4.3 รูปแบบการวิจัยที่กระทำโดยอาศัยข้อมูล ณ จุดหนึ่งของเวลาหรือระยะเวลาหนึ่ง เรียกว่า รูปแบบการวิจิัยแบบตัดขวาง
(Cross sectional study design หรือ Prevalence study)

4.4 รูปแบบการวิจัยที่กระทำโดยอาศัยข้อมูลระยะยาวของเวลา เรียกว่า Longtitudenal study design

5. การออกแบบการวัดค่าตัวแปร (Measurement Design) เป็นการกำหนดวิธีการวัดค่า หรือการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปร โดยมีลำดับขั้นตอนในการดำเนินการ

5.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการวัดค่าตัวแปร

5.2 กำหนดโครงสร้าง และคำนิยามของค่าตัวแปรแต่ละตัวที่ต้องการวัดให้ชัดเจน

5.3 กำหนดระดับการวัดของข้อมูล และสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปร

5.4 ตรวจสอบคุณภาพที่จำเป็นต้องมีของเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปร ได้แก่ ความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อมั่น(Reliability)

5.5 กำหนดวิธีการและขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน

5.6 กำหนดรูปแบบ วิธีวัดค่าตัวแปร หรือการควบคุมตัวแปรเกิน โดยวิธีการสุ่ม, การนำมาเป็นตัวแปรที่ศึกษา, การจัดสถานการณ์ให้คงที่หรือการควบคุมด้วยวิธีการทางสถิติ

 

6. การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling Assignment ) เป็นการดำเนินการ เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรในการนำมาศึกษา

6.1 กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่าง

6.2 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม

7. การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวางแผนในการดำเนินการกับข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะได้ใช้ในการตอบปัญหาการวิจัยตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.1 การเลือกใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics)

7.2 การเลือกใช้สถิตเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics)

จุดมุ่งหมายของการออกแบบการวิจัย

ในการออกแบบการวิจัย มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ 

1. เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาการวิจัยที่ถูกต้อง ชัดเจน และมีความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือ โดยการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา เพื่อนำไปใช้เป็น แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือการวิเคราะห์ข้อมูล

2. เพื่อควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรการวิจัยที่ศึกษา โดยใช้แนวทาง 3 ประการ ดังนี้

1) ศึกษาให้มีความครอบคลุมขอบเขตของปัญหาการวิจัยให้มากที่สุด

2) ควบคุมอิทธิพล ของตัวแปรที่ไม่อยู่ในขอบเขตของการวิจัยแต่จะมีผลกระทบต่อผลการวิจัยให้ได้มากที่สุด 

3) การลดความคลาดเคลื่อนที่จะเกิดขึ้นในการวิจัยให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

ลักษณะของการออกแบบการวิจัยที่ดี มีประสิทธิภาพในการวิจัยมีลักษณะ ดังนี้

1) เป็นแนวทางการหาคำตอบของปัญหาการวิจัยได้อย่างแท้จริง

2) สามารถควบคุมตัวแปร ทั้งตัวแปรสาเหตุที่ต้องการศึกษา และตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษา โดยใช้การสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (Random Assignment) และการสุ่มการจัดกระทำให้แก่กลุ่มตัวอย่าง (Random Treatment)

3) ควบคุมให้เกิดความเที่ยงตรงภายในที่ผลการวิจัยได้มาจากตัวแปรสาเหตุเท่านั้น และความเที่ยงตรงภายนอก ที่จะสามารถใช้ผลการวิจัยสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากรได้

4) ปราศจากความมีอคติ

5) ปราศจากความสับสน

#theTSISThailand

อ้างอิง

http://www.udru.ac.th/attachments/elearning/01/06.pdf

http://www1.si.mahidol.ac.th/km/sites/default/files/71.pdf

bottom of page