top of page

เพิ่มอรรถรสในการชม Game of Throne ซีซั่นฟินาเล่

ผ่านงานวิจัยนอกจอ (100% Spoiler Alerts)

Cover_Paper_GOT-01.png

เตรียมพร้อมกันหรือยังคะกับ Season Finale ของซีรี่ย์ฮิต Game of Throne หลายคนเริ่มหา Season 1 – 8 มาย้อนดูกันแล้ว จะไม่ให้ตื่นเต้นได้ยังไง ก็เรารอกันมาตั้งเกือบ 2 ปี กับภาคสุดท้ายนี้

วันนี้ TSIS ขอหยิบเอางานวิจัยที่เกี่ยวกับซีรี่ย์ดัง Game of Throne เรื่องราวเกี่ยวกับการช่วงชิงบัลลังค์เหล็ก ที่มีนัยะสำคัญต่าง ๆ นอกจอ ทั้งประเด็นของการใช้อำนาจ ประเด็นของบทบาทของเพศสภาพที่แตกต่างกันของตัวละคร การเมือง และมุมมองของชนชั้นแรงงาน

ความโป๊เปลือยของตัวละคร

งานวิจัยชิ้นแรกเป็นบทความชื่อเรื่อง Pornography, Postwoman and Female Nudity ของผู้เขียนชื่อ Aaron K.H. Ho ซึ่งถูกรวบรวมไว้ในหนังสือเรื่อง “Vying for the iron throne Essays on Power, Gender, Death and Performance in HBO’s Game of Thrones” เนื้อหาสำคัญนั้นพูดถึงเรื่องความแตกต่างในการนำเสนอภาพโป๊เปลือยระหว่างตัวละคร เราสนใจตอนที่ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่าความโป๊เปลือยของตัวละครหลักอย่าง Daenerys และ Cersei นั้นมีนัยยะบางประการซ่อนอยู่ ผู้เขียนเริ่มประเด็นที่ Daenerys ตัวละครหลักที่มีฉากโป๊เปลือยมากที่สุดและมีรูปแบบในการโป๊เปลือยแบบพิเศษ (Daenerys เป็นตัวละคนถูก search มากที่สุดในเวปไซต์ Pornhub)  

“ทุกครั้งที่เธอเปลือย พลังอำนาจของเธอจะเพิ่มมากขึ้น”

เราพยายามนึกเรื่องราวทวนตามคำอ้าง ก็เห็นจริงดังนั้น ตั้งแต่ฉากที่เธอถูกเหยียดหยามจากพี่ชายของเธอข้างอ่างอาบน้ำ เธอไร้อำนาจ แต่แววตาเธอก็ยังคงดูมุ่งมั่น เช่นกันกับฉากที่เธอสมรส (แบบไม่เต็มใจ) กับ Drogo สามีคนแรก มาถึงฉากที่น่าจดจำที่สุดสำหรับเรา ฉากที่เธอเดินเปลือยออกมาจากกองไฟพร้อมกับลูกมังกรน้อยทั้งสามที่เต้นรำรายล้อมร่างเธอ หน้าตา Emilia Clarke เรียบเฉย ว่างเปล่า เหมือนผ่านมาแล้วทุกนรก ดูแล้วน่าขนลุก ตัวละครนี้ทำให้เราเกิดความสงสัยว่า พลังอำนาจขนาดนี้ Daenerys เป็นมนุษย์หรือเปล่านะ

แตกต่างกันคนละขั้วกับ Cersei Lannister ซึ่งผู้เขียนให้ความเห็นว่า ตัวละครทั้ง 2 นั้นมีความเหมือนกันในเรื่องของการสูญเสียคนรัก ความคิดที่ต้องการแก้แค้น การเกิดมาในครอบครัวที่เป็นหญิงหนึ่งเดียวในพี่น้อง ความเป็นแม่ของลูก (คนและมังกร) ทั้ง 3 ตัวละครทั้ง 2 มีรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม (และทั้งคู่มีผมสี blond ด้วยนะ) แต่การสื่อสารที่แสดงในฉากโป๊เปลือยช่างต่างกัน

 

“ทุกครั้งที่ Daenerys เปลือย พลังอำนาจของเธอจะเพิ่มมากขึ้น แต่ฉากโป๊เปลือยลดทอนคุณค่าของ Cersei”

 

Daenerys ร่วมหลับนอนกับ John (ความสัมพันธ์อา – หลาน) ฉากนำเสนอภาพที่สวยงาม ละมุนละไม ต่างจากฉากของ Cersei กับ Jaime (ความสัมพันธ์พี่ - น้อง) ภาพของ Cersei นั้นไม่ได้แสดงให้เห็นถึงพลังอำนาจตามตำแหน่งของเธอเลย ฉากสำคัญต่อมา คือ Walk of Atonement ของ Cersei ที่ตัวละครไร้ซึ่งอำนาจและคุณค่าความเป็นคน ในฉากนั้น Cersei ร้องไห้ เธอไม่ได้ดูเสียใจกับการกระทำของเธอ สีหน้าเธอดูแค้นและรอคอบการล้างแค้นมากกว่า

 

ผู้เขียนยกให้ตัวละคร Daenerys เป็นผู้หญิงแบบ Postmodern เราเห็นด้วย Daenerys ผ่านความเจ็บปวด แต่ความแข็งแกร่งจากภายในผลักให้เธอต้องต่อสู้ เธอฉลาดและปกครองแบบมีธรรมาภิบาล เป็นผู้นำในอุดมคติ ในขณะเดียวกับกับ Cersei ที่เป็นตัวแทนความคิดของผู้หญิงที่แข็งแกร่ง ต้องการความก้าวหน้า และทะเยอทะยานในยุคเก่า เหมือนตัวละครผู้หญิงในหนังย้อนยุคเรื่องเก่า ๆ ที่เน้นการแสดงความสำคัญของความเป็นแม่ ทำทุกอย่างเพื่อลูก สร้างอำนาจเพื่อลูก เป็นนักการเมืองที่มีเล่ห์เหลี่ยมสูง

ความพิการใน Game of Throne

บทความนี้ชื่อ Cripples, Bastards and Broken Things: Disability in Game of Thrones เขียนโดย Katie M Ellis ผู้เขียนให้ข้อมูลว่า Game of Throne ได้รับรางวัล Media Access Awards ในปี 2013 เป็นรางวัลให้แก่ความพยายามในการส่งเสริมความตระหนักของความพิการ การเข้าถึงของคนพิการอย่างเท่าเทียมในทุกอุตสาหกรรม และบรรยายลักษณะของตัวละคนที่มีความพิการด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง

 

Tyrion Lannister ตัวละครหลักที่มีความพิการ รับบทโดย Peter Dinklage ที่เกิดมาพร้อมกับ Achondroplasia ภาวะที่กระดูกเติบโตผิดปกติทำให้ร่างกายไม่สมส่วน ที่ส่วนใหญ่เราจะรู้จักกันว่า คนแคระ Peter โด่งดังจากการรับบท Tyrion จนมีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นอย่างมากมายทั่วโลก เขาได้ให้ความเห็นต่อบทบาทที่เขาได้รับไว้ว่า

 

โดยปกติคนพิการมักจะได้รับบทที่ไม่ได้โดดเด่นอะไร ไม่ได้เป็นศูนย์กลางของเนื้อเรื่อง แต่ตัวละคร Tyrion ได้รับการเปิดตัวด้วยฉากที่เขามีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงหลายคน ซึ่งเป็นเรื่องที่แตกต่างจากบรรทัดฐานที่ผ่านมา ที่แถบจะไม่มีการสื่อสารว่าคนพิการก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความปรารถนาทางเพศ จริง ๆ อาจจะพูดได้ว่าตัวละคร Tyrion มีเพศสัมพันธ์มากเกินไปด้วยซ้ำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการประกาศความเป็นลูกผู้ชายของเขาในโลกที่พยายามจะทำให้เขาแปลกแยกเพราะขนาดร่างกายของเขา

 

เราเห็นด้วยว่า Game of Thornes เป็นตัวอย่างที่ดีที่นำเสนอวิถีชีวิตของตัวละครที่มีความพิการที่สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด ไม่ได้ให้บทของคนดีมาก ๆ ผิดธรรมชาติเพื่อชดเชยความพิการ หรือ บทตลกกะโหลกกะลาที่สร้างภาพจำผิด ๆ ของคนพิการ แต่เป็นบทที่มีมิติ มีมุมเข้มแข็ง อ่อนแอ ดี ร้าย สะท้อนความเป็นมนุษย์ทุกคนอย่างตรงไปตรงมา

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ติดตามซีรี่ย์ดังที่เป็นคนพิการด็ยังคงมีความเห็นว่า การมีกฎหมายของการกีดกันและกดขี่คนพิการเป็นอีกกลไกที่จะทำให้ความเหลื่อมล้ำที่คนพิการได้รับนั้นลดน้อยลงได้  

ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการตายใน Game of Thrones

งานวิจัยชิ้นสุดท้ายเป็นงานวิจัยชื่อ “Risk Factors Associated with Mortality in Game of Thrones: A Longitudinal Cohort Study” เป็นการศึกษาอัตราการตายและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงการตายของตัวละครใน Game of Thrones โดยใช้ข้อมูลของตัวละครตั้งแต่ Episode ที่ 1 ถึง Episode ที่ 32 และพิจารณาเฉพาะตัวละคนที่มีปรากฏบนจอมากกว่าหรือเท่ากับ 5 นาที ตัวละครทั้ง 132 ตัวที่นำมาวิเคราะห์ถูกแบ่งเป็น 7 ตระกูล คือ Stark, Targaryen, Lannister, Baratheon, Greyjoy, Martell และ Tyrell (ในกรณีที่ตัวละครไม่ได้ปรากฎอยู่ในตระกูลใดเลยจะถือเอาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของตัวละครกับตระกูลนั้นเป็นหลัก) ผลจากงานวิจัยที่น่าสนใจสามารถสรุปได้ ดังต่อไปนี้

 

  1. ตัวละครมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 35.1 ปี และมาจากตระกูล Stark, Lannister และ Targaryen ตามลำดับ

  2. 89 ตัวละคร จาก 132 ตาย

    1. 59 ตัวละคร ตายจากการได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย

    2. 12 ตัวละคร ตายจากการถูกไฟไหม้

    3. 4 ตัวละคร ตายจากการได้รับยาพิษ

    4. มีเพียงตัวละครเดียวที่ตายโดยธรรมชาติ  

  3. อายุของตัวละครเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความเสี่ยงการตายของตัวละครอย่างมีนัยยะสำคัญ

  4. ถึงแม้ผลของงานวิจัยจะไม่สามารถแสดงนัยยะสำคัญทางสถิติได้ แต่ผลการวิเคราะห์ พบว่า ตัวละครในตระกูล Targaryen นั้น มีความเสี่ยงการตายสูงกว่าตัวละครในตระกูล Stark

  5. เช่นเดียวกับตัวละครในตระกูล Baratheon, Martell, และ Tyrell ที่มีความเสี่ยงการตายสูงกว่าตัวละครในตระกูล Stark

  6. ตัวละครจากทางเหนือมีแนวโน้มของความเสี่ยงการตายมากกว่าตัวละครจากทางใต้

  7. Westeros เป็นสถานที่ที่อันตรายที่สุด เนื่องจาก ผลการศึกษา พบว่า อัตราส่วนของตัวละคร 2 ใน 3 ที่อาศัยอยู่ที่นี่ตายเรียบ

ปัจจุบัน Game of Throne ดำเนินเรื่องราวมาถึง Episode ที่ 67 และ ที่จะตามมากับ Season Finale อีก 6 Episode เราสนใจเป็นพิเศษว่าผลจากงานวิจัยชิ้นนี้หลังได้รับการอัพเดทข้อมูลเมื่อจบ Episode ที่ 73 ซึ่งประกาศอย่างเป็นทางการแจ้งว่าจะออกอากาศในวันที่ 19 พฤษภาคม 2019 จะยังคงมีผลสรุปเดิมอยู่หรือไม่

 

TSIS หวังว่างานวิจัยและบทความที่เราคัดเลือกมา จะทำให้การดู Game of Throne ซีซั่นสุดท้ายนี้ได้รับอรรถรสเพิ่มขึ้นนะคะ ขอให้สนุกกับการชมค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง

- Aaron K.H. Ho. Pornography, Postwoman and Female Nudity pp. 28-39 IN: Mantoan, Lindsey (ed. and introd.); Brady, Sara (ed. and introd.);   

Vying for the Iron Throne: Essays on Power, Gender, Death and Performance in HBO’s Game of Thrones. Jefferson, NC; McFarland; 2018. (ix, 222 pp.)

- ELLIS, Katie M. Cripples, Bastards and Broken Things: Disability in Game of Thrones. M/C Journal, [S.l.], v. 17, n. 5, oct. 2014. ISSN 14412616.

Available at: <http://journal.media-culture.org.au/index.php/mcjournal/article/view/895Games>. Date accessed: 11 apr. 2019.

- Journal of The American Geriatrics Society 2017, 65:2572-2579. 2017. Risk Factors Associated with Mortality in Game of Thrones: A

Longitudinal Cohort Study.

a4c12a8be89a91291bb0f87696250810.jpg
501e4793957a37abaf324661168c25e7.jpg
11b4a245d39015a78cf8dd3d20530acc.jpg
d01b8817d73ede0d4070c5fb25ea9706.jpg
af2f6cdb21aae02f1b0b6293e11db8a2.jpg
ba8ed875591e9b053a8229fa0c35d75c.jpg
ec3d4aa2eb6f6443ab763351f2b9fdfd.jpg
กราฟ_Paper_GOT-02.png
bottom of page