top of page
  • Writer's pictureTSIS

10 หัวข้อวิจัยเกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์

By The TSIS

สื่อสังคมออนไลน์เข้ามาอยู่ในทุกย่างก้าวในชีวิตประจำของผู้คนจนไม่สามารถแยกออกจากกัน ความคิดเห็นบางส่วนอาจมองว่าโซเชียลมีเดียคือสาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ของคนในสังคมแยกห่างออกจากกันมากขึ้น เพราะการกลายเป็นสังคมก้มหน้าทำให้คนเลือกที่จะคุยกันผ่านหน้าจอมากกว่าหันมาพูดคุยกันน้อยลง แต่การมีแพลตฟอร์มออนไลน์ทำให้ผู้คนทั้งใกล้และไกลสามารถติดต่อสื่อสาร ญาติหรือคนรู้จักตอนเด็ก ๆ มีโอกาสกลับมาเจอกันอีกครั้ง


ความน่าสนใจของสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้วันนี้เรามีหัวข้อวิจัยเกี่ยวกับสื่อสังคมออกไลน์จาก Paperell มาฝาก


1. เครือข่ายสังคมออนไลน์ทำให้เราโดดเดี่ยวและกลายเป็นคนไม่ชอบเข้าสังคม ?


นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Vriije และมหาวิทยาลัย Radboud ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ทำการสำรวจรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์พบว่า คนที่ใช้เวลากับสื่อสังคมออนไลน์ในทุก ๆ วันจะมีความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวมากกว่าคนที่ใช้เวลาเล่นสื่อสังคมออนไลน์น้อยกว่า นอกจากนั้นยังรบกวนเวลาพักผ่อน


Erik Peper รองศาสตราจารย์ด้านสุขศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐซานฟรานซิสโก ระบุว่า การเสพติดสมาร์โฟนเป็นอาการทางระบบประสาทที่คล้ายคลึงกับผู้ที่ติดยาเสพติด ในการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 135 คน พบว่า คนที่ใช้เวลาจำนวนมากกับสมาร์โฟนมีแนวโน้นที่จะแสดงความรู้สึกวิตกกังวล เศร้าใจ และรู้สึกโดดเดี่ยว


อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.psychologytoday.com/us/blog/modern-mentality/201810/is-social-media-making-you-lonely


2. วิธีปกป้องเด็กจากโลกออนไลน์ ?


จำนวนเด็ก 1 ใน 5 คนที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เคยถูกร้องขอให้มีเพศสัมพันธ์ จำนวน 1 ใน 4 คน เห็นภาพอนาจารจากคนแปลกหน้า และเกือบ 60% ของวัยรุ่นเคยได้รับรับอีเมลหรือข้อความจากคนแปลกหน้า


สื่อสังคมออนไลน์เป็นสถานที่ที่ทำให้ผู้คนสามารถติดต่อเพื่อนและครอบครัว ในทางกลับกันสื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นสถานที่ที่น่ากลัวสำหรับเด็กผ่านการ Cyberbullying (ไซเบอร์บูลลิ่ง) โดยใช้เครื่องมือสื่อสารในการกลั่นแกล้ง เช่น การขู่ทำร้ายผ่านทางโซเชียลมีเดีย, การพูดจาคุกคามทางเพศ, การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น ฯลฯ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้อาจทำลายเด็กไปตลอดชีวิต


อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://pixelprivacy.com/resources/keep-children-safe-online/


3. วิธีการในการระบุตัวคนที่มีลักษณะการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็กในโลกออนไลน์


ในโลกออนไลน์ที่ทุกคนต่างโพสต์ภาพถ่ายเพื่อแบ่งปันเรื่องราว หรือเก็บไว้เป็นความทรงจำ ได้มีกลุ่มคนบางกลุ่มที่เรียกว่าคนที่มีลักษณะล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก (Pedophiles)


รายงานจาก The Atlantic ระบุว่ามีเด็กวัยรุ่นแจ้งเข้ามาว่าไปเจอบัญชีอินสตาแกรมที่มีการโพสต์ภาพถ่ายอนาจารนับร้อยของเด็ก พร้อมกับแปะลิงก์ให้ดาวน์โหลดภาพถ่ายจาก Dropbox แต่ด้วยความที่อินสตาแกรมมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก และผู้ที่ทำพฤติกรรมเหล่านี้เป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญทำให้ไม่สามารถตามจับบุคคลที่มีความผิดได้


อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.thv11.com/article/news/crime/pedophiles-are-exploiting-social-media-for-kids-photos/91-548275863

https://protectyoungeyes.com/4-ways-pedophiles-exploit-instagram-groom-kids/


4. เหตุผลที่เราต้องโพสต์ลงบนโลกออนไลน์ ?


ลองสังเกตผู้คนรอบข้างคุณเวลาที่คุณกำลังทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างทานข้าว ดูคอนเสิร์ต หรืออะไรก็ตาม จะต้องมีคนกำลังใช้มือสองข้างยกโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อบันทึกสิ่งที่น่าตื่นเต้นลงบนโซเชียลมีเดีย


Facebook Instagram Twitter หรือ Snapchat กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา หลังจากที่คุณโพสต์บางอย่างลงบนสื่อสังคมออนไลน์ หลังจากนั้นคุณจะต้องเข้าไปตรวจสอบความเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง


เควิน ซิสตรอม หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งอินสตาแกรมกล่าวว่า “สื่อสังคมออนไลน์สำหรับตัวเขาเองเหมือนเป็นควันและกระจกที่คอยบอกว่า ทำไมคุณถึงสำคัญและมีความเชื่อมโยงกัน”


นักจิตวิทยาสองท่านคือ Wilcox และ Stephen ทำการวิเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์ทั้งในด้านการให้คุณค่า และการควบคุมตนเองพบว่า เฟซบุ๊กทำให้ผู้คนรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น


ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า การโพสต์ลงในสื่อสังคมออนไลน์เป็นวิธีหนึ่งในการสร้างความมั่นใจ และเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง หรือคือการพยายามทำให้สังคมยอมรับเรา


อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.theodysseyonline.com/the-urge-share-why-post-social-media

https://smallbusiness.yahoo.com/advisor/why-post-things-online-world-160037329.html


5. วิธีหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying)


พญ.เบญจพร ตันตสูติ โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า เด็กทุกคนอาจจะเคยประสบการรังแกกลั่นแกล้งกันในโรงเรียน ซึ่งเป็นการแกล้งกันต่อหน้า เมื่อถึงยุคที่มีอินเทอร์เน็ต การกลั่นแกล้งได้ไปเกิดในโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ นั่นคือ Cyberbullying ซึ่งความรุนแรงตรงนี้สามารถไปได้ทุกที่ แม้กระทั่งในที่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน (เบญจพร ตันตสูติ, 2560)


Cyberbullying ได้กลายเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนในวงกว้าง เช่น ผลการเรียนตกต่ำ การให้คุณค่าต่อตนเองที่ลดลง ภาวะซึมเศร้าวิตกกังวล ท้ายที่สุดในบางกรณีอาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเอง และฆ่าตัวตาย


อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.etda.or.th/content/cyberbullying-panel-discussion-at-thailand-cybersecurity-week-2017.html


6. LinkedIn สามารถช่วยให้คนหางาน ?


Katherine Burch เขียนบทความลงใน The Guardian ในเรื่องวิธีการใช้ LinkedIn ในมหาวิทยาลัยเพื่อช่วยให้คุณได้งานเมื่อสำเร็จการศึกษา


การพยายามทำให้ตนเองโดดเด่นขึ้นมาในหมู่คนที่เรียนจบเพื่อที่จะได้หางานอาจเป็นวิธีที่ยาก แต่การใช้ LinkIn ถือเป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายของคุณขณะที่ยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย และเป็นวิธีที่ดีในการหาประสบการณ์การทำงาน และโอกาสอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการเรียน


อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.theguardian.com/education/mortarboard/2013/dec/30/linkedin-tips-for-students-employability


7. วิธีการหยุดพักจากโซเชียลมีเดีย (Social Media Break)


คุณเคยรู้สึกหรือไม่ว่าตัวเองใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกินไป จนในบางครั้งก็อยากที่จะโยนโทรศัพท์ทิ้งไป สำหรับคนที่มีความจำเป็นต้องใช้โซเชียลมีเดียในการทำงาน การหยุดพักจากโซเชียลมีเดียถือเป็นวิธีหนึ่งในการเอาชนะความเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี


คนดังหลายคน อาทิ Ariana Grande, Selena Gomez, Gigi Hadid, Ed Sheeran ฯลฯ ต่างก็เคยพาตัวเองออกจากโซเชียลมีเดียเป็นบางครั้งเพื่อช่วยรักษาสุขภาพจิต และเพิ่มความคิดสร้างสรรค์


อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.juicer.io/blog/how-to-take-a-stress-free-social-media-break


8. ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงหมกมุ่นอยู่กับจำนวนผู้ติดตามและยอดไลค์ ?


ในช่วงเดือนกันยายน ค.ศ.2019 หากใครจำกันได้ว่าเฟซบุ๊กได้มีการเริ่มทดสอบการซ่อนตัวเลขจำนวนยอดไลค์ (Like) ที่ประเทศออสเตรเลีย หลายคนอาจมองว่า ตัวเลขการกดไลค์เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า มีใครเข้ามาปฏิสัมพันธ์หรือให้ความสนใจเราในเฟซบุ๊กบ้าง


ผู้เชี่ยวชาญหลายคนออกมาผลักดันให้เฟซบุ๊กหยุดให้ความสำคัญกับการนับจำนวนยอดผู้กดไลค์ เนื่องจากก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อผู้ใช้งานที่ต่างพยายามหาวิธีการให้ตัวเองได้ยอดไลค์เยอะ ๆ จนกลายเป็นคนที่เสพติดการล่าไลค์โดยไม่รู้ตัว พอไม่ได้จำนวนที่สูงก็จะออกอาการเซ็งและหดหู่


อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1719578


9. อะไรคือสิ่งที่จะมาแทนการเสพติดโซเชียลมีเดีย ?


สื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม และทินเดอร์ได้กลายเป็นรากฐานสำคัญของการสื่อสารในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ในกรณีสุดอื้อฉาวของ Cambridge Analytica ก็ได้แสดงให้เห็นด้านลบของโซเชียลมีเดีย


ในมุมมองด้านสุขภาพจิต เริ่มมีการพูดถึงผลกระทบด้านลบของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มากเกินไปว่าส่งผลต่อความสัมพันธ์ และผลการเรียนของกลุ่มที่ยังอยู่ในวัยเรียน ในเวลาต่อมา ผลการศึกษาเริ่มแสดงให้เห็นว่า การเสพติดโซเชียลมีเดียทำให้คนวิตกกังวล ซึมเศร้า และสมาธิสั้น


อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.psychologytoday.com/us/blog/in-excess/201805/addicted-social-media


10. ใครคือผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดบนสื่อสังคมออนไลน์ ?


การตลาดในยุคปัจจุบัน การใช้วิธีการโฆษณาแบบเดิม ๆ คงไม่เพียงพอที่จะเอาชนะความต้องการของผู้บริโภคในยุคที่คนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่านักการตลาดจะพยายามใช้ช่องทางออนไลน์ในการส่งผ่านข้อมูลไปสู่ผู้บริโภค


อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคเริ่มก็หันมาให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ได้จากบุคคลที่มีชื่อเสียงในโลกออนไลน์ (influencers)เพราะต้องการความน่าเชื่อถือและความเชื่อใจก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้า หรือรับฟังข่าวสาร


อ่านข้อมูลเพิ่มเติม https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_sep_13/pdf/aw07.pdf

https://planable.io/blog/top-social-media-influencers/


Illustration by Piyanat Chasi

 

20,826 views