top of page
  • Writer's pictureTSIS

สะท้อนความเจ็บปวดอย่างเป็น 'ศิลปะ' ผ่านภาพยนตร์ Confessions

By Piyanat Chasi

ยุคสมัยหนึ่งนิยามความงามของศิลปะที่ดีคือภาพ “ความจริง” หรือ “สะท้อนสังคม” ในตอนต้นศตวรรษที่ 20 ได้เกิดศิลปะลัทธิแสดงพลังอารมณ์ (Expressionism) ศิลปะเน้นแสดงความรู้สึกมีชีวิตชีวา (being alive) และ สะท้อนความเป็นจริงทางสังคม แต่ปรากฏในลักษณะ “บิดเบือน” ความจริงเพื่อที่จะแสดงผลทางอารมณ์ ให้ความรู้สึกรุนแรงจากภายใน (angst) นําประสบการณ์ทางอารมณ์มาแทนความจริงทางวัตถุ

งานศิลปะลัทธิแสดงพลังทางอารมณ์ไม่ได้มีเพียงแค่ในศิลปะจิตรกรรมยังปรากฏผ่านศิลปะแขนงที่เจ็ดอย่าง “ภาพยนตร์” เช่นกัน

ในภาพยนตร์เรื่อง Confessions เราได้เห็นการนําเสนอ “ความจริง” อันเจ็บปวดของสังคมญี่ปุ่นผ่านเหตุการณ์การแก้แค้นกันของ คุณครูสาวที่ลูกสาวเธอถูกฆาตกรรมโดยนักเรียนประจําห้องของเธอ ภาพความจริงถูกทําให้บิดเบือนโดยเทคนิคต่าง ๆ ในงานภาพยนตร์เสมือนกับการสบัดฝีแปรงด้วยสีสดและตัดกันลงในผ้าใบเพียงแต่ในภาพยนตร์เราจะเห็นการบิดเบือนความจริง ความรู้สึกทางอารมณ์ผ่านบทภาพยนตร์ ภาพ เสียง การตัดต่อและดนตรีประกอบ


ถ้านิยามของศิลปะลัทธิแสดงพลังอารมณ์ (Expressionism) คือ การแสดงออกถึงความรุนแรงภาย ในบทภาพยนตร์ Confessions คือการลงโครงร่างของงานด้วยดินสอ ร่างโครงต่าง ๆ ขึ้นมาโดยมุ่งนําเสนอความเป็นจริงของสังคมญี่ปุ่นว่าภายใต้ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจมีความกดดันภายในตัวปัจเจกบุคคลมากเพียงไร


จุดเริ่มต้นของ การแก้แค้นในเรื่องเกิดจากเด็กชาย A ถูกแม่ตนทิ้งไปจนนํามาสู่คดีฆาตกรรมและเกิดปัญหามากมายตามมา “แม่” ของเด็กชาย A นําเสนอปัญหาทางโครงสร้างของญี่ปุ่นว่า “ผู้หญิง” ตกอยู่ภายใต้สังคมชายเป็นใหญ่แม้ว่าเธอจะมีความสามารถในการทํางานมากเพียงใด บทบาทสําคัญของผู้หญิงยังถูกจํากัดเพียงแค่ต้องเป็น “แม่บ้าน” เธอไม่สามารถเลือกทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกันได้


เมื่อความกดดันในชีวิตสูงจนเธอแบกรับไม่ไหวจึงเลือกกลับไปเดินในเส้น ทางการทํางานมากกว่าจะเป็นแม่บ้าน เธอได้ทิ้งปัญหาไว้เบื้องหลังจนนํามาสู่ความรุนแรงต่างๆ ในภาพยนตร์ ไม่ใช่แค่ แม่เด็กชาย A ที่ต้องเผชิญหน้ากับสังคมเช่นนี้ ยังมีแม่ของเด็กชาย B และคุณครูสาวผู้ทําการแก้แค้น


ดินสอที่ขึ้นโครงนี้ เลือกวาดภายผู้หญิงในสังคมญี่ปุ่นเป็นโครงหลักของศิลปะว่าความเป็นจริงผู้หญิงต้องเลือกหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นแม่บ้านอย่างแม่ของเด็กชาย B หรือเป็นผู้หญิงเก่งด้านการทํางานอย่างแม่เด็กชาย A หรือเป็นทั้งสองอย่างจนมี ช่องว่างทางเวลาจนทําให้ลูกสาวตนถึงแก่ความตาย


เมื่อขึ้นโครงร่างงานศิลปะด้วยบทภาพยนตร์แล้วนั้นเทคนิคการลง สีคือองค์ประกอบที่สําคัญในศิลปะรูปแบบนี้เปรียบได้กับ “ภาพ” และ “การตัดต่อ” ในภาพยนตร์ สีรุนแรงตัดกัน อย่างจัดจ้านปรากฏผ่านเทคนิคการตัดต่อโดยเล่าเรื่องราวของผู้ที่เกี่ยวข้องหลักทุกคน นําเสนอมุมมองแต่ละคนได้ อย่างชัดเจนถึงเหตุผลของการกระทําต่างๆ เป็นรูปแบบที่ไม่ค่อยได้เห็นในภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ

สีจัดจ้านของศิลปะใน ภาพยนตร์ยังเห็นได้ในงานภาพ เราได้เห็นท้องฟ้าของเรื่องมีสภาพครึ้มตลอดเวลาช่วยเพิ่มความครึ้มอกครึ้มใจให้ผู้ชมได้เป็นอย่างมากเพราะตัวละครต่าง ๆ ก็มีการกระทําที่มัว ๆ ไม่ชัดเจน ไม่แจ่มใสเช่นเดียวกันกับสภาพท้องฟ้า ภาพฝนตกที่จับภาพเป็นสโลโมชั่น (Slowmotion) เน้นย้ําอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมเสมือนกับฝีแปรงที่รุนแรงของศิลปะ เสียงและดนตรีคือการเก็บรายละเอียดของภาพเพิ่มผลทางอารมณ์ ภาพกระจกเป็นถนนเป็นอีกเทคนิคทางศิลปะที่ แสดงถึงความบิดเบือนในใจของตัวละครอย่างชัดเจน


กระจกมีลักษณะโค้งนูนเมื่อมองแล้วให้ความรู้สึก “ไม่จริง” หรือ หลวงสายตาเรา เช่นเดียวกันกับกระจกที่เห็นเมื่อฉากเด็กชายสองคนคุยกัน ทั้งคูู่กําลังมีจิตใจที่บิดเบือนจนนํามาสู่ ความรุนแรง ภาพในกระจกของคุณครูชายกับเด็กสาวที่เดินทางไปบ้านเด็กชาย B สะท้อนว่ามีเหตุการณ์บางอย่างไม่ ถูกต้อง ความจริงคือสองคนนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุให้เด็กชาย B ทําอนันตริยกรรมหรือฆ่าแม่ตน


ภาพเลือดเป็นอีกหนึ่งในสีจัดจ้าน เราเห็นเลือดมากมายในหลายเหตุการณ์ แค่เพียงเลือดก็ทําหน้าที่ความรุนแรงในตัวมันเองแต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้นโดยเลือดปรากฏบ่อยครั้งและกระจัดกระจายหรือพุ่งออกมาอย่างน่ากลัวมากยิ่งขึ้น เสียง และดนตรีประกอบถูกทําหน้าที่เก็บความสมบูรณ์แบบและช่วยสร้างอารมณ์มากไม่แพ้กับองค์ประกอบอื่นๆ


ในงาน ศิลปะ การใช้เสียง Voice over หรือเสียงพูดบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครคือการเพิ่มให้ความรุนแรงภายใน ปราฏออกมาได้อย่างชัดเจน และดนตรีที่ใช้คือเพลงสดใสในช่วงเหตุการณ์อันน่าหดหู


ช่วงที่เด็กนักเรียนรวมตัวกันส่ง จดหมายอวยพรไปให้เด็กชาย B เป็น Montage ของเด็กนักเรียนที่ถ้าเราเปิดมาแล้วเจอช่วงเหตุการณ์เหล่านี้คงคิดว่า ภาพยนตร์นี้คือความสดใสของเด็กนักเรียน เพลงอันสดใสสวนทางกับข้อความแช่งให้เด็กชาย B นั้นไปตายซะ

ถ้าบท คือการขึ้นโครงร่างงาน ภาพและการตัดต่อคือการใช้ฝีแปรงลงสีอย่างจัดจ้าน เสียงและดนตรีประกอบก็คือการลงสีซ้ํา หรือย้ําโครงร่างเพิ่มอีกเพื่อเก็บรายละเอียดของงานศิลปะให้สมบูรณ์

งานศิลปะลัทธิแสดงพลังอารมณ์ (Expressionism) คือการบิดเบือนความจริงเพื่อเพิ่มอารมณ์ในการรับชม ความจริงให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น ภาพยนตร์ Confessions จัดเป็นงานศิลปะในรูปแบบนี้ที่ประสบความสําเร็จ


เรารับชม ความรุนแรงทางสังคมได้อย่างสวยงามเป็นศิลปะ ชวนให้ดูต่อได้แม้จะเนื้อหาจะรุนแรงหรือเจ็บปวดมากเพียงไร แต่ ทั้งหมดนั้นก็สอดแทรกความสวยงามเช่นกัน เพราะองค์ประกอบทางศิลปะที่รวมกันทั้งบท ภาพ การตัดต่อ เสียง และ ดนตรี ร้อยเรียงเข้าด้วยกันจนกลายเป็นความเจ็บปวดอันงดงามอย่างเป็นศิลปะ


Illustration by Arnon Chundhitisakul

 

272 views0 comments

Commenti


bottom of page