top of page
  • Writer's pictureTSIS

แนวคิด Reselience ที่ช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตในภาวะวิกฤติ

By TSIS Team



จากสถานการณ์วิกฤตที่เกิดจากภัยระดับโลกในครั้งนี้ ทำให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันนั้นต้องกลับมาทบทวนแนวคิดในการดำเนินชีวิตใหม่อีกครั้ง แนวคิดหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการใช้ชีวิตให้มีประสิทธิภาพและพร้อมกับการอยู่ร่วมกับความไม่แน่นอน ความเสี่ยง และ วิกฤตการณ์รูบแบบต่าง ๆ คือ “Resilience” ซึ่งควรเป็นการสร้างระบบในการตอบสนองกับวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดขององค์กร (Lansford T. and et al., 2010: 79)


Resilience (รีซิล'เยินซฺ) คือ ความสามารถในการกลับสู่สภาพเดิม ความหดได้ ความยืดหยุ่น ความสามารถในการฟื้นคืนสู่ปกติ (Longdo Dict, 2020) อย่างไรก็ตามแนวคิดของ Resilience นั้น มีความซับซ้อน ลึกซึ้ง และเป็นระบบอย่างมาก


ความสามารถในการใช้ชีวิตในภาวะวิกฤตเป็นรูปแบบหนึ่งของ Resilience (Lawrence J. Vale and Thomas J, 2005: 14) การสร้างชุมชนที่มีความ Resilience นั้น อาจทำได้โดย (1) ต้องสร้างความสามารถในการลดผลกระทบจากวิกฤต 2) ต้องสร้างแนวทางในการดำเนินชีวิตในช่วงวิกฤตอย่างต่อเนื่องได้แม้จะไม่สามารถดำเนินการได้เหมือนเดิม 100% และ 3) ต้องสร้างแนวทางในการกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าเดิมได้ในเวลาที่รวดเร็วที่สุดหรือมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมหลังพ้นวิกฤตได้ ความยืดหยุ่นของ Resilience นั้น หน้าตาเหมือนฟองน้ำ พื้นผิวอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น สามารถอุ้มน้ำได้มาก สามารถบีบน้ำออกได้ง่าย และกลับมาเป็นรูปทรงเดิมที่ใช้งานได้ดีกว่าเดิม (Hirunsalee S., 2012: 130)


ความสามารถแบบ Resilience นั้น อาจระบุได้ว่าเป็นการบูรณาการนำเอาความรู้ ความเข้าใจพฤติกรรม และบริบทของชุมชน มาใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถในการตอบรับกับสถานการณ์ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น การใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานความรู้เดิม (Cognitive resilience) กับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน (Behavioral Resilience) โดยใช้ผู้คน เครือข่าย และทรัพยากรที่มีอยู่เดิม (Contextual resilience) มาสร้างทางออกในการดำเนินชีวิตในช่วงวิกฤต (Lengnick-Hall and Beck, 2005: 705 cited in Elliott, Swartz, and Herbane, 2010:217)


ภาพที่ 1 แสดงแนวคิด Resilience

 

1,179 views
bottom of page