NURTURE ONE RESEARCHER AT A TIME.
ย้อนประวัติศาสตร์ถนนเยาวราชและอาหารริมทาง (Street Food)
Dec 12, 2019 I Setthaphong Matangka
ไฮไลต์ของสุดสัปดาห์นี้ (13-15 ธันวาคม) สำหรับใครหลาย ๆ คนคงกำลังตื่นตาตื่นใจถนนคนเดิน (Waking Street) ที่เยาวราช สีลม และข้าวสาร เรียกได้ว่างานนี้ กทม. จัดเต็ม ปิดพื้นที่ถนนเยาวราชกันตั้งแต่เวลา 17.00-24.00 น. ส่วนวันอาทิตย์จะปิดถนนทั้งเส้น และมีร้านค้ามาเติมแบบจุใจ ก่อนที่จะไปพูดถึงร้านอาหารข้างถนน (Street Food) เรามาย้อนรอยประวัติศาสตร์ของถนนเยาวราชกันสักนิด
ประวัติถนนเยาวราช
“ถนนเยาวราช” แต่เดิมชื่อว่า “ถนนยุพราช” เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2435 ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2443 หรือใช้ระยะเวลาสร้าง 8 ปี มีความยาว 1,410 เมตร สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้เยาวราชเป็นสถานที่สำคัญสำหรับการค้าขาย
เยาวราชถือเป็นย่านที่อยู่อาศัยของชาวจีน และคนไทยเชื้อสายจีนจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะทำธุรกิจค้าขาย ธนาคาร ร้านทอง รวมถึงร้านอาหาริมถนน (Street Food) มาตั้งแต่ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นหูฉลาม ซุปรังนก ก๋วยจั๊บ ยาจีน และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้ถูกขนานนามว่าเป็นย่านไซน่าทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร
ด้วยความที่เยาวราชมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงทำให้มีการอยู่ร่วมกันของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรม ทำให้ทางการเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และเทศกาลสำคัญของชาวจีน ในทุก ๆ ปี เยาวราชจะมีการจัดเทศกาลตามประเพณีจีน 4 เทศกาล ได้แก่ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลบ๊ะจ่าง เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลกินเจ
Street Food ของเยาวราช
ในปี พ.ศ.2561 กรุงเทพมหานครได้รับเลือกจาก CNN ให้เป็นเมืองแห่งอาหารริมทาง (Street Food) อันดับหนึ่งของโลกโดยเฉพาะในย่านไซน่าทาวน์ (Griffin Shea, 2561)
การมีชื่อเสียงในเรื่อง Street Food ก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวเลือกที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ความนิยมของ Street Food เติบโตมาพร้อมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ความจริงในอดีต ‘การกินข้าวนอกบ้าน’ ถือเป็นกิจกรรมของผู้คนระดับล่าง ซึ่งมีเฉพาะในบริเวณตลาด แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดชนชั้นกลาง และครอบครัวเดี่ยวส่งเสริมให้ผู้คนหันเข้ามาหาทำงานในเมืองเพิ่มมากขึ้นทำให้ความหมายของการกินข้าวนอกบ้านเปลี่ยนแปลงไป (อรรถจักร สัตยานุรักษ์, 2560)
หากจะกล่าวว่า การเติบโตของอาหารริมทาง (Street Food) เชื่อมโยงกับการกลายเป็นเมืองและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปก็คงไม่ เพราะด้วยการทำงานของคนในปัจจุบันที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านทำให้คนส่วนใหญ่ไม่นิยมที่จะปรุงอาหารเพื่อรับประทานในครอบครัว แต่เลือกที่จะหันมาทานอาหารนอกบ้านโดยเฉพาะ Street Food ที่มีให้เลือกสรรหลากหลายและสะดวกสบายมากกว่า ดังนั้นถ้าคุณอยากสัมผัสรสชาติของอาหารริมทางแบบดั้งเดิม ศุกร์นี้เจอกันเยาวราช
แหล่งอ้างอิง
https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640864
https://prachatai.com/journal/2017/04/71109
https://prachatai.com/journal/2017/04/71109