top of page

ธรรมกาย กับ ขบวนการล้มธรรมกาย

นายณฐพงศ์ พิทักษ์

Cover_ธรรมกาย4-02.png

“ธรรมกายกับขบวนการล้มธรรมกาย”

ภาคนิพนธ์ของ นายณฐพงศ์ พิทักษ์ จบการศึกษาจากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

คุณณฐพงศ์เป็น 1 ใน Speaker ที่จะมาร่วมเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับศาสนาให้พวกเราฟัง ในงานเสวนา (เกือบ) วิชาการ “Passion X Research ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่ไม่ใช่ศาสนา” จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2561 เวลา 13:00 - 16:30 น. ที่ Luz Hostel (BTS เพลินจิต) เราจึงนำภาคนิพนธ์ของคุณณฐพงศ์มาฝากทุกคนให้ได้อ่านกันก่อนที่จะไปร่วมพูดคุยกันนะคะ เนื้อหาจะเป็นอย่างไร ติดตามอ่านได้ล่างได้เลยค่ะ

  • ที่มาและความสำคัญ
    สืบเนื่องจากปัญหาความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในกรณีการตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ใหม่ ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ ของสมเด็จพระญาณสังวร ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.๒๕๓๕ ระบุว่า “หากตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช” ซึ่ง ณ ขณะ นั้น สมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดได้แก่ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญโญ) จากวัดปากน้ า ภาษีเจริญ ฝ่ายมหานิกาย อย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์ทางการเมืองขณะนั้นที่มีการชุมนุมขับไล่รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดย กลุ่ม คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ กลุ่มกปปส. ส่งผลให้การแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ต้องเลื่อนออกไป

    จนกระทั่งภายหลังจากการชุมนุมเสร็จสิ้นลง ภายหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติหรือ คสช. คณะกรรมการมหาเถรสมาคมได้บรรจุวาระการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ เข้าสู่ที่ประชุมกรรมการมหาเถร สมาคมเพื่อพิจารณา อย่างไรก็ตามการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชได้ถูกคัดค้านโดยกลุ่มต่อต้านหลายกลุ่ม หลายองค์กร โดย สามารถแบ่งข้อโจมตีที่มีต่อสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ได้โดยสำคัญดังต่อไปนี้

              ๑. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์มีคดีทุจริตติดตัว (คดีทุจริตรถหรูวัดปากน้ำภาษีเจริญ)
              ๒. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธัมมชโย)
              ๓. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์เป็นผู้คอยหนุนหลังวัดพระธรรมกาย

เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าข้อโจมตีที่สำคัญที่กลุ่มต่อต้านการแต่งตั้งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ คือการ “เป็นพวกธรรมกาย” สภาพการณ์เช่นนี้ นำไปสู่คำถามที่สำคัญประการหนึ่ง เหตุใด “การเป็นพวกธรรมกาย” จึงถูกนำมาใช้เป็นข้อ โจมตีราวกับเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ไม่พึงปราถนาของสังคม ทั้งที่วัดพระธรรมกายก็เป็นวัดหนึ่งที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ให้มีสถานะเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายเช่นเดียวกับวัดอื่น ๆ ในประเทศไทย สภาพการณ์เช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งที่ ซุกซ่อนอยู่อย่างไม่แนบเนียนนักในวงการผู้ทรงศีล ผู้แท้จริงแล้วควรเสาะแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นทั้งหลาย

งานชิ้นนี้เป็นความพยายามของผู้ศึกษาในการทำความเข้าใจจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง และสืบสาวเรื่องราวที่ เกิดขึ้น กลับไปสู่จุดอุบัติของความสับสนวุ่นวายในหมู่สมณะเถระผู้ละวาง ผ่านการ ทำความเข้าใจความแตกต่างของลัทธิ ธรรมกายกับแนวคิดพุทธกระแสหลักอันเป็นหนึ่งในสาเหตุแห่งความขัดแย้ง รวมถึงท าความเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่ม เครือข่ายต่อต้านและสนับสนุน โดยคาดหวังว่าถึงที่สุดแล้ว งานชิ้นนี้จะเป็นหนึ่งในองค์ความรู้ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ ความเป็นปุถุชนคนธรรมดาที่เต็มไปด้วยความต้องการ ตลอดจนความละโมบโลภมาก เฉกเช่นเดียวกับคนทั่วไปของ พระสมณะเถระตั้งแต่พระสงฆ์ระดับรากหญ้า ไปจนถึงระดับสมเด็จพระราชาคณะผู้สูงส่ง ตลอดจนเป็นหนึ่งในภาพสะท้อนที่ ทำให้สังคมไทยหันมาสนใจกับการสร้างระบบการตรวจสอบ พระสงฆ์ที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพต่อไป

  • จุดประสงค์ในการทำวิจัย
       1. เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างลัทธิธรรมกายกับศาสนาพุทธกระแสหลักในประเทศไทย ที่นำไปสู่ความขัดแย้ง
       2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายของกลุ่มต่อต้านธรรมกาย
     

  • ระเบียบวิธีวิจัย
       1. การวิจัยเอกสาร
       2. การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม

     

  • สรุปประเด็นและผลการวิจัย
       ความแตกต่างระหว่างวัดพระธรรมกายกับวัดพุทธกระแสหลักอื่น ๆ จากการศึกษาพบว่า สินค้าหลัก ที่วัดพระธรรมกายใช้ในการดึงดูดผู้บริโภคให้เข้าใช้บริการวัด ไม่แตกต่างไปสินค้าที่วัดอื่นๆ ในพุทธกระแสหลักทั่วไปใช้ อาจมีความแตกต่างในเชิงรายละเอียดดังจะกล่าวถึงต่อไป สินค้าหลักดังกล่าวข้างต้นประกอบไปด้วย

    • ​1. บุญ หมายถึง ผลแห่งการกระทำดี อันจะส่งผลในเชิงบวกต่ออนาคตของผู้ศรัทธา

    • 2. สมาธิ หมายถึง กิจกรรมในการเจริญสมาธิเพื่อให้เกิดความสงบทางจิตใจ

    • 3. ความเป็นคนดี หมายถึง สภาวะอิ่มเอมใจจากการกระทำสิ่งที่ผู้ศรัทธาเชื่อว่าเป็นการทำความดี โดยทั่วไปแล้ว ความเป็นคนดีนี้ จะได้มาเมื่อบริโภคสินค้าก่อนหน้าทั้งสองชนิด

สินค้าหลักทั้งสามประการถือเป็นสินค้าร่วมที่วัดต่าง ๆ รวมถึงวัดพระธรรมกายใช้น าเสนอให้แก่ผู้ชาวพุทธ อย่างไรก็ตาม วัดพระธรรมกายยังคงมี “จุดขาย” ที่สำคัญอีกสองประการได้แก่ ประการแรก “ความจับต้องได้” หลักคำสอนของวัด พระธรรมกายมีลักษณะจับต้องได้ เน้นการกำหนดขนาด หลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม เช่นการกำหนดระดับขั้นและผลที่ จะได้รับจากการทำบุญในปริมาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการตีความว่านิพพานมีลักษณะเป็นอัตตาเป็นต้น ความจับต้องได้นี้เอง ที่เป็นส่วนหนึ่งของการที่วัดพระธรรมกายไม่สามารถเชื่อมโยงตัวตนเข้ากับศาสนาพุทธกระแสหลักได้อย่างแนบเนียน “ความจับต้องได้” ประการสำคัญที่สุดที่ถูกนำมาใช้โจมตีวัดพระธรรมกายโดยฝ่ายต่อต้านได้แก่ความแตกต่างในการตีความ “นิพพาน” วัดพระธรรมกายได้กำหนดให้นิพพานมีลักษณะเป็น “อัตตา” หรือมีตัวตนอยู่จริง โดยอธิบายลักษณะของนิพพาน ไว้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ประทับอยู่ร่วมกัน ผู้บรรลุวิชชาธรรมกายจะสามารถเดินทางไปยัง นิพพานนี้ได้ และอาจถวายสิ่งต่าง ๆ แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ผ่านทาง “พระเดชพระคุณหลวงพ่อ” (พระราชภาวนาวิสุทธิ์ : ไชยบูลย์ ธัมมชโย) กล่าวคือ นิพพานของวัดพระธรรมกายจึงมีลักษณะคล้ายกับแนวคิดของสวรรค์คือเป็นสถานที่ที่มีตัวตนอยู่จริงและสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางการบรรลุอรหันต์ (เพื่ออยู่ในพระนิพานนั้นเป็นการถวร) หรือบรรลุวิชาธรรมกาย(เพื่อ สามารถเดินทางไปยังพระนิพพานได้เป็นครั้งคราว) นิพพานลักษณะนี้มีชื่อ เรียกว่า อายตนนิพพาน

จุดขายสำคัญประการที่สองของวัดพระธรรมกายคือ “บรรยากาศ” วัดพระธรรมกายให้ความสำคัญกับการจัดการ สภาพแวดล้อมภายในวัดเป็นอย่างยิ่ง ในตัววัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สำหรับใช้ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาของผู้ศรัทธา (ลูกค้า) มีการจัดสรรพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งพื้นที่สำหรับสงฆ์ เส้นทางเดิน ที่นั่งปฏิบัติธรรม พื้นที่ทิ้งขยะ ล้วนเป็นสัดส่วนที่ “ไม่เป็นธรรมชาติ” หากแต่สะท้อนให้เห็นการวางแผนและบริหารจัดการเป็นอย่างดี จุดขายนี้เป็นหนึ่งในจุดขาย สำคัญที่ดึงดูดผู้ใช้บริการหน้าใหม่ของวัด เนื่องจากกระบวนการในการเข้าถึงวัดมีลักษณะไม่ซับซ้อนทั้งในแง่พื้นที่และในแง่ ขั้นตอน ลดทอนขั้นตอนที่จำเป็นในการเข้าถึงพิธีกรรมทางศาสนาของวัดได้โดยสะดวก ผู้ศรัทธาใหม่สามารถหาซื้อชุดขาว (ตามธรรมเนียมของวัด) ได้ภายในวัดในราคาย่อมเยาว์หากผู้ศรัทธาใหม่ไม่มีคนรู้จักคอยแนะนำทางวัดจะมีเจ้าหน้าที่ค่อยช่วยชี้แนะ พื้นที่และวิธีการปฏิบัติตัวให้แก่ผู้ศรัทธาใหม่ นอกจากนี้วัดพระธรรมกายยังเน้นการสร้างบรรยากาศพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ เพื่อเน้น สร้างความรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมให้แก่ผู้ศรัทธา สภาพดังกล่าวส่งผลให้วัดพระธรรมกายสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ (ผู้ศรัทธา) ได้เป็นอย่างดี

 

  • เครือข่ายต่อต้านธรรมกาย

       ผู้ศึกษาได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายต่อต้านวัดพระธรรมกายผ่านทางตัวละครที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านวัด พระธรรมกาย และต่อต้านสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ โดยการจัดกลุ่มตัวละครต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่ จากนั้นจึงพิจารณา ความสะพันธ์ระหว่างตัวละครในแต่ละกลุ่มและความสัมพันธ์ของตัวละครระหว่างกลุ่ม  

 

ทั้งนี้ข้อโจมตีที่สำคัญต่อวัดพระธรรมกายประกอบไปด้วย

1. คดีสหกรณ์วัดคลองจั่น
2. คดีอวดอุตริมนุสธรรม ต้องอาบัติปาราชิก พระราชภาวนาวิสุทธิ์
3. คดียักยอกทรัพย์สินวัด ต้องอาบัติปาราชิก

4. ธรรมกายบิดเบือนพระพุทธศาสนา เป็นสัทธรรมปฏิรูป (ไม่สอนตามพระพุทธเจ้า)

ผลการศึกษาพบว่า

      กลุ่มต่อต้านธรรมกาย สามารถแบ่งได้ทั้งสิ้น ๓ กลุ่ม
        1. กลุ่มพระสงฆ์อาชีพ ได้แก่ กลุ่มพระสงฆ์ที่เติบโตมาตามระบบขั้นตอนของวัดพุทธ กระแสหลักทั่วไป
        2. กลุ่มการเมืองฝ่ายขวา เช่น กลุ่มกปปส. สมาชิกสภานิติบัญญัติ สมาชิกคสช.

        3. กลุ่มนักวิชาการและปัญญาชนทั่วไป


สำหรับท่านใดที่สนใจร่วมกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์นี้ สามารถลงทะเบียนได้ที่ link หน้าเพจ TSIS นะคะ ที่นั่งเหลือไม่มากแล้วรีบจับจองกันเข้ามานะคะ แล้วพบกันค่ะ
 

Keyword: ศาสนา ธรรมกาย 

illustration by Sirada Visessiri

อ้างอิง

Photo

https://sites.google.com/site/class23102/home/bthbath-phra-sngkh

http://www.naewna.com/local/257517

https://board.postjung.com/849139.html

http://www.tnews.co.th/contents/302212

http://event.sanook.com/day/constitution/

bottom of page