top of page

คริสต์มาส : การเปิดเผยตนต่อสาธารณะของชุมชนคริสต์ปัตตานี

ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ

Cover_Christmas-02.png

คริสต์มาส : การเปิดเผยตนต่อสาธารณะของชุมชนคริสต์ปัตตานี

The Celebration of Christmas :Public Visibility of Pattani Christianity

ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ (Sansanee Chanarnupap)

อ.ดร., สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

  • ที่มาและความสำคัญ
    จังหวัดปัตตานีมีลักษณะพหุลักษณ์ทางภาษา ศาสนา และชาติพันธุ์ โดยหุ้นส่วนหลักทางวัฒนธรรมในจังหวัดปัตตานี ประกอบด้วย
    (1) ชุมชนมุสลิม ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ (2) ชุมชนไทยพุทธ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ และ (3) ชุมชนจีน ซึ่งมี บทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของพื้นที่ จนหลายครั้งจังหวัดปัตตานีถูกเรียกขานว่าเป็นเมืองสามวัฒนธรรม ทั้ง ๆ ที่ในจังหวัดปัตตานียังมีหุ้นส่วนทางวัฒนธรรมอื่น ๆ อีกที่ปรากฏตัวร่วมอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลายาวนาน ตัวอย่างเช่น ชุมชนคริสต์ ชุมชนคริสต์ในจังหวัดปัตตานีมีตัวตนเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปมาเป็นเวลายาวนาน แต่สังคมไทยโดยเฉพาะผู้คนในจังหวัดปัตตานีและจังหวัดชายแดนภาคใต้แทบจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับชุมชนคริสต์ในพื้นที่ดังกล่าวเลย จนกระทั่งสถานการณ์ความไม่สงบนับตั้งแต่พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ได้กลายเป็นแรงผลักดันสำคัญทำให้เกิดการจัดระเบียบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการมีตัวแทนของกลุ่มทางวัฒนธรรมอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ “ชุมชนคริสต์” จึงได้รับเชิญให้เปิดเผยตัวในพื้นที่สาธารณะและในประชาสังคมของจังหวัดมากขึ้น

  • จุดประสงค์ในการทำวิจัย
      (1) ศึกษาเจตนารมณ์ของชุมชนคริสต์ปัตตานีในการ เปิดเผยตนเองต่อสาธารณะ
      (2) ศึกษาเนื้อหาในการเปิดเผยตนเองต่อสาธารณะของชุมชนคริสต์ปัตตานี ซึ่งสะท้อนผ่านการจัดงานคริสต์มาสจังหวัด
     

  • ระเบียบวิธีวิจัย
    ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารและการ วิจัยสนาม โดยอาศัยการสังเกต การปฏิสัมพันธ์กับประชากร การสัมภาษณ์เจาะลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 7 เดือน ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 25 คน ได้แก่ คณะกรรมการสมาคมคริสตชนจังหวัดปัตตานี คณะกรรมการจัดงานคริสต์มาส จังหวัดปัตตานี ผู้นำองค์กรศาสนาคริสต์ในจังหวัดปัตตานี และคริสตศาสนิกชนในจังหวัดปัตตานี นอกจากนั้น ผู้วิจัยยังเข้าร่วมการประชุมสำคัญต่าง ๆ ของชุมชนคริสต์เพื่อปฏิสัมพันธ์กับประชากรในวงกว้างและเพื่อตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูล ข้อค้นพบที่ได้ช่วยส่งเสริมให้สังคมไทยเข้าใจผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมและส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์

     

  • สรุปประเด็นและผลการวิจัย
    การจัดงานคริสต์มาสจังหวัดปัตตานีเป็นประจำ ในวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี เริ่มตั้งแต่พ.ศ.2548 เป็นต้นมา มีผลทำให้สังคมตระหนักรู้ถึงการดำรงอยู่ของชุมชนคริสต์ปัตตานีมากขึ้น เจตนารมณ์ของชุมชนคริสต์ปัตตานีในการเปิดเผยตนต่อสาธารณะตั้ง อยู่บนพื้นฐานของหลักคำสอนเรื่องการรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง ส่วนเนื้อหาในการเปิดเผยตนเองต่อสาธารณะผ่านการจัดงานคริสต์มาสจังหวัดปัตตานีนั้นพบว่า ชุมชนมีความระมัดระวังในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เพื่อให้ชาวปัตตานีซึ่งมีความหลากหลายทางเพศ วัย เชื้อชาติ และศาสนา สามารถเข้าร่วมงานและปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมกับชุมชนได้

  • ประโยชน์และการนำไปใช้

    ประโยชน์ของการเปิดเผยตนต่อสาธารณะของชุมชนคริสต์ปัตตานี
       1. การจัดงานคริสต์มาสจังหวัดเป็นช่องทางการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมที่นอกจากจะช่วยส่งเสริมให้สังคมไทยเข้าใจผู้คนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมแล้ว การได้สื่อสารถึงสถานภาพและวิถีของชุมชนยังส่งผลให้ชุมชนคริสต์ปัตตานีได้รู้จักตัวเองมากขึ้นและช่วยส่งเสริมการนับถือตัวเอง
       2. การเปิดเผยตนให้เป็นที่รู้จักและเปิดช่องทางให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ช่วยลดช่องว่าง เพิ่มความใกล้ชิด พัฒนาความไว้เนื้อเชื่อใจ ช่วยลดมายาคติที่อาจเกิดขึ้นจากความกลัว ความไม่รู้ หรือความเข้าใจผิด ช่วยป้องกันความขัดแย้ง และช่วยขยายเครือข่าย
ทางสังคม ซึ่งเหล่านี้นับเป็นความเจริญงอกงามของสังคมโดยรวม
       3. สังคมปัตตานีในวงกว้างตระหนักรู้ถึงการดำ รงอยู่ของชุมชนคริสต์มากขึ้น และเริ่มต้นผนวกชุมชนคริสต์เข้าในประชาสังคมทางวัฒนธรรมของจังหวัด

  • ความเสี่ยงของการเปิดเผยตนต่อสาธารณะของชุมชนคริสต์ปัตตานี
    1. การกลายเป็นเป้าหรือเหยื่อของความรุนแรงในพื้นที่
    2. ยิ่งทำงานร่วมกันมากขึ้น ยิ่งเพิ่มโอกาสของการกระทบกระทั่งกัน
    3. การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมในพื้นที่ซึ่งเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ จำเป็นต้องมีความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เนื่องจากหากปล่อยให้ความผิดพลาดเกิดขึ้น แม้เป็นเพียงสิ่งเล็ก Parichart Journal, Thaksin University 115 Vol. 28 No. 3 Special edition น้อย แต่อาจนำไปสู่ความเสียหายในวงกว้างได้

    4. การเปิดเผยตนเองอาจนำไปสู่ผลที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ไม่ได้รับการตอบรับหรือการยอมรับ เปิดเผยตนเองแล้วกลับถูกลดคุณค่าหรือความสัมพันธ์ลง ข้อมูลถูกนำ ไปบิดเบือน จากผู้ไม่หวังดี
     

อ้างอิง
https://drive.google.com/drive/folders/1zoRCIwVlLorJ-2rh-PTxeGw9EnDCC2eg?usp=sharing

 

Photo

www.pinterest.com


illustration by Sirada Visessiri

bottom of page