
NURTURE ONE RESEARCHER AT A TIME.
"เขียนได้ เขียนดี" เรียนรู้วิธีการเขียนรายงานการวิจัย

เขียนรายงานการวิจัยอย่างไรให้ผ่านฉลุย มาเรียนรู้ส่วนประกอบในการเขียนรายงานไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
การเขียนรายงานการวิจัย คือ การรายงานข้อเท็จจริงจากงานวิจัยที่ค้นพบ เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ผู้วิจัยจะต้องเขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และรัดกุม แล้วตรวจดูความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะจัดพิมพ์ต่อไป ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นสุดท้ายของการวิจัย โดยการสรุปผลการวิจัย และเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งโดยทั่วไปในรายงานการวิจัยจะประกอบด้วย
-
บทที่ 1 บทนำ ซึ่งประกอบด้วยความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา เพื่อชี้แจงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการวิจัย สมมติฐานในการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้น ความไม่สมบูรณ์ของการวิจัย คำนิยามศัพท์เฉพาะ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-
บทที่ 2 การตรวจสอบเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทราบถึงงานวิจัยอื่น ๆ ที่อาจจะทำการศึกษาข้อมูลเรื่องเดียวกันหรือในมุมมองที่แตกต่างจากงานวิจัยที่เรากำลังศึกษา
-
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่ม ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล และขั้นตอนการดำเนินการรวบรวมข้อมูล ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
-
บทที่ 4 ผลการวิจัย (Result) ระบุรายละเอียดของผลการวิจัย หรือผลของการวิเคราะห์ข้อมูล ในลักษณะเป็น กราฟ ตาราง ภาพประกอบ และอื่นๆที่เหมาะสม ฯลฯ โดยกราฟ ตาราง ภาพประกอบดังกล่าว ต้องมีการเชื่อมโยง กับการบรรยาย
-
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ (Conclusion and Discussion) สรุปผลการวิจัยโดยสรุปเรื่องราวของสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย ตลอดจนประโยชน์ในการประยุกต์ของผลงานวิจัยที่ได้
ตัวอย่าง ส่วนประกอบการเรียบเรียงงานวิจัยในสายวิทยาศาสตร์ และสายสังคมศาสตร์
การเรียบเรียงรายงานวิจัยในสายวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. บทนำ (Introduction) ควรประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1.1) ที่มาและความสำคัญของปัญหา
1.2) หลักการ แนวคิด ทฤษฎี หรือสมมุติฐาน
1.3) วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.4) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
2. วิธีการดำเนินงานวิจัย (Materials & Methods) วิธีการดำเนินการวิจัยตามแบบแผนและวิธีการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในแต่ละสาขา อย่าง ละเอียดชัดเจนมีเอกสารอ้างอิงกำกับไว้ด้วย โดยครอบคลุมหัวข้อต่างๆ
3. ผลการวิจัย (Result) และอภิปรายผล/ วิจารณ์ผล (Discussion)
4. สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ สรุปผลการทดลองหรือผลการวิจัย การนำผลของการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร รวมถึงข้อเสนอแนะที่สามารถนำผลของการวิจัยไปต่อยอดเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
การเรียบเรียงรายงานวิจัยในสายสังคมศาสตร์ ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้
1. บทนำ (Introduction) ควรประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1.1) ที่มาและความสำคัญของปัญหา
1.2) วัตถุประสงค์ของโครงการกล่าวถึงเป้าหมายที่ต้องการศึกษาที่ค่อนข้าง เฉพาะเจาะจง ร
1.3) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.4) ขอบเขตของการวิจัย (Scope of the study)
1.5) นิยามศัพท์เฉพาะ (Definition of key terms)
1.6) กรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework)
2.2.2 การทบทวนวรรณกรรม เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎีที่นักวิจัยเลือกใช้ในการวิจัย และการทบทวนสรุปสาระสำคัญจากเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง (Literature review)
2.2.3 วิธีดำเนินการวิจัย (Materials & Methods)
2.2.4 ผลการวิจัย (Result)
2.2.5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ(Conclusion and Discussion) สรุปผลการวิจัยโดยสรุปเรื่องราวของสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย ตลอดจนประโยชน์ในการ ประยุกต์ของผลงานวิจัยที่ได้ซึ่งจะประกอบด้วย
1) สรุปผลของการวิจัย สรุปเนื้อหาในงานวิจัยทั้งหมด ครอบคลุมวัตถุประสงค์ สมมติฐาน (ถ้ามี) วิธีการดำเนินการวิจัยและผลการวิจัยโดยสรุป
2) อภิปรายผลของการวิจัย กล่าวถึงผลการวิจัย วิเคราะห์ความสอดคล้อง หรือขัดแย้งกับทฤษฎีและผลการวิจัยที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้ รวมถึงการนำแนวคิดทฤษฎีและผลการวิจัย มาสนับสนุนเพื่อเป็นการขยายเพิ่มเติมองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยให้กว้างหรือชัดเจนขึ้น การแปลความผลที่ได้ จากการวิเคราะห์ เพราะเหตุใด จึงได้ผลเช่นนั้น
3) ข้อเสนอแนะ กล่าวถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ในลักษณะต่างๆ และเสนอแนะ แนวทางการวิจัยที่ควรทำต่อไปเพื่อให้กว้างขวางและมีความละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
จากส่วนประกอบการเรียบเรียงรายงานทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยภาพรวมแล้วมีความใกล้เคียงกันในแต่บะขั้นตอน จะมีความแตกต่างกันเพียงรายละเอียดบางส่วนที่มีการเพิ่มเนื้อหา ข้อมูลในการค้นคว้าเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น และจะแตกต่างกันที่ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงาน แต่หลักสำคัญที่สุดในการเขียนรายงานผลการวิจัย คือ การใช้ภาษาในการเขียนให้ถูกต้อง ตรวจทานคำผิดโดยการอ่านทวนทั้งหมดอีกครั้ง เขียนสรุปผลให้ตรงตามผลการวิจัย ไม่บิดเบือนผลการวิจัยที่ได้ และหากมีการอ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัยชิ้นอื่น อย่าลืมเขียนอ้างอิงให้ชัดเจน และถูกหลักการเขียนอ้างอิงที่กำหนดไว้ เพียงเท่านี้การเขียนรายงานก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
อ้างอิง
http://www.la.mahidol.ac.th/course/lath100/wp-content/uploads/2016/02/AcademicWriting02.pdf
http://rdi.rmutsv.ac.th/info2/found_form/full_paper.pdf