NURTURE ONE RESEARCHER AT A TIME.
การเขียนอ้างอิง เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
การเขียนอ้างอิง เป็นอีกส่วนที่สำคัญสำหรับการทำวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัย
เพราะการเขียนอ้างอิง คือ การแสดงถึงแหล่งข้อมูลที่เราได้ศึกษาค้นคว้า
เพื่อนำมาช่วยส่งเสริม และช่วยให้ข้อมูลในงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ของเรามีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งวิธีการเขียนอ้างอิงนั้นเป็นแบบใดบ้าง ติดตามอ่านด้านล่างกันได้เลยค่ะ
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์APA
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) พัฒนามาจากนักสังคมศาสตร์และนักพฤติกรรมศาสตร์มากว่า 80 ปี เพื่อเป็นมาตรฐาน ในการเขียนอย่างเป็นระบบส าหรับภาคนิพนธ์การท าวิจัย รายงานการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม บทความและกรณีศึกษา การอ้างอิงมีทั้งหมด 2 หัวข้อใหญ่ คือ 1.การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (Citing References in Text) และ 2.รายการอ้างอิงท้ายบทความ (References) ซึ่งวันนี้เราจะนำเสนอขั้นตอนในการเขียนอ้างอิงข้อมูลโดยทั่วไป พร้อมยกตัวอย่างให้ทุกท่านได้ชมกันค่ะ
1.การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (Citing References in Text)
การอ้างอิงแบบนี้ใช้กับข้อความที่คัดลอกมาหรือประมวลมา เป็นการเขียนอ้างอิง แหล่งที่มาของข้อมูลในเนื้อหาวิทยานิพนธ์ โดยระบุชื่อผู้แต่งและปีพิมพ์ในกรณีที่เป็นการอ้างอิงเนื้อหา โดยตรงหรือแนวคิดบางส่วนหรือเป็นการคัดลอกข้อความบางส่วนมาโดยตรง ควรระบุเลขหน้าไว้ด้วย โดยพิมพ์ต่อท้ายปีพิมพ์ คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)
การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาเป็นระบบนาม-ปี ให้ข้อมูลผู้แต่ง ปีพิมพ์และ เลขหน้าที่มีข้อความที่อ้างถึง
รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา มี 3 รูปแบบ ดังนี้
1. (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์, เลขหน้า) ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง
(สุนีย์มัลลิกะมาลย์, 2549, น. 200-205)
(McCartney & Phillips, 2006, pp. 498-499)
(Murphy, 1999, p. 85)
กรณีที่ไม่ปรากฏเลขหน้าให้ลงแค่ชื่อผู้แต่งกับปีพิมพ์ไว้ในวงเล็บเดียวกัน (สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2549)
2. ผู้แต่ง (ปีพิมพ์, เลขหน้า) กรณีมีการระบุชื่อผู้แต่งในเนื้อหาแล้ว ไม่ต้องระบุ ไว้ในวงเล็บท้ายข้อความที่อ้างอีก
20 ลดาพร บุญฤทธิ์ (2539, น. 49) ได้ศึกษาถึง................................
Kanokon Boonsarngsuk (2002, p. 14) studied…………………………………. ก
รณีที่ไม่ปรากฏเลขหน้าให้ลงแค่ชื่อผู้แต่งกับปีพิมพ์โดยลงปีพิมพ์ไว้ในวงเล็บ ลดาพร บุญฤทธิ์ (2539)
3. ปีพิมพ์ ผู้แต่ง (เลขหน้า) กรณีมีการระบุปีพิมพ์และผู้แต่งในเนื้อหาแล้ว (ปีพิมพ์และผู้แต่งสามารถสลับที่กันได้) ให้ระบุเฉพาะเลขหน้าที่อ้างถึงในวงเล็บเท่านั้น
ในปี 2542 เสรี วงษ์มณฑา ได้ให้ความหมายว่า “การประชาสัมพันธ์เป็นการกระทำ ทั้งหลายทั้งปวง ที่เกิดจากการวางแผนล่วงหน้าในการที่จะสร้างความเข้าใจกับสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดี ภาพพจน์ที่ดี อันน าไปสู่สัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยงานและสาธารณชนที่ เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดการสนับสนุนและความร่วมมือเป็นอย่างดี” (น. 9)
In 1996, According to Kaplan and Norton, “the implementation of the Balanced Scorecard allows the organization to be managed successfully. It support the deployment of business strategies, meeting customer needs, and the visibility of process problem” (p. 7).
หากข้อความที่คัดลอกมามีความยาวไม่เกิน 3 บรรทัด ให้พิมพ์ต่อเนื่องกับ เนื้อหาโดยไม่ต้องย่อหน้าใหม่และให้ใส่เครื่องหมายอัญประกาศ (“……”)
2. รายการอ้างอิงท้ายบทความ (References)
รายการอ้างอิงท้ายบทความ เป็นการระบุเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ตอนท้าย โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามระบบ APA Style 6th ed. ซึ่งเราได้ยกตัวอย่างแหล่งอ้างอิงที่มักใช้กันบ่อย ๆ ดังนี้ค่ะ
หนังสือทั่วไป
วารสารและนิตยสาร
ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง ชื่อวารสาร, ปีที่ (ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย
ตัวอย่าง :
สุชาดา ตั้งทางธรรม. (2545). การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ: กรณีโรงงานยาสูบ
กระทรวงการคลัง. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 15(3), 23-37.
Athikom, S. (2014). Accuracy of shooting 2 model. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University Printing House.
บทความในหนังสือ
รูปแบบการเขียน:
ชื่อผู้เขียนบทความ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อผู้แต่ง (บรรณาธิการ),/ชื่อหนังสือ ////////(ครั้งที่พิมพ์), เลขหน้าที่ปรากฏบทความจากหน้าใดถึงหน้าใด)./สถานที่พิมพ์:/ ////////สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง:
Saowanee chumdermphadejsuk. (1991). Acute Asthma Treatment in Children. in Somsak Lohlekha, Chaleerat Dilekwattanacha and Montree Tuchinda (Editor), Clinical Immunology and Allergy. (p. 99-103). Bangkok: The Royal College of Pediatricians of Thailand & Pediatric Society of Thailand.
บทความวารสารออนไลน์
รูปแบบการ:
เขียนชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่/(ฉบับที่),/เลขหน้า-เลขหน้า. ////////URLของวารสาร
ตัวอย่าง:
Chunhachinda, P. (2017). FinTech: Towards Thailand 4.0. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning, 8(1), 7 (1), 23-37. http://e-jodil.stou.ac.th/filejodil/14_0.pdf
บทความในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการที่พิมพ์เผยแพร่
รูปแบบการเขียน:
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ใน/สถานที่จัด,/ชื่อการประชุม./(หน้า)./สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง:
Deci, E. L., & Ryan, R. M. (1991). A motivational approach to self: Integration in personality. In R. Dienstbier (Ed.), Nebraska Symposium on Motivation: Vol. 38. Perspectives on motivation (pp. 237-288). Lincoln: University of Nebraska Press.
รูปแบบการเขียน:
ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์./(ปีพิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต //////// หรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต,/ชื่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา).
ตัวอย่าง:
Athikom, S. (2007). EFFECT OF ACCURACY TRAINING IN TWO - GOAL SHOOTING MODELS. (Master' s thesis) Faculty of Physical Education, Srinakharinwirot University
เว็บไซต์
รูปแบบการเขียน:
ชื่อผู้เขียน./ (ปีที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต)./ ชื่อเรื่อง./ สืบค้นเมื่อวัน เดือน ปี,/ จากเว็บไซต์: ///////URL Address
ตัวอย่าง:
Jairaksa, S. (2017).Promote Technical Occupations. Retrived May 29, 2018, from http://cddata.cdd.go.th/cddkm/prov/km2_viewlist.php?action=view&div= 64&kid=28748.
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับการเขียนอ้างอิงงานวิจัย ไม่ยากอย่างที่คิดนะคะ นี่เป็นเพียงตัวอย่างในการเขียนอ้างอิงเท่านั้น ยังมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่ค่อนข้างละเอียดมากกว่านี้ หากท่านใดสงสัย หรือว่าอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จากแหล่งอ้างอิงที่เราใส่ไว้ด้านล่างเลยนะคะ ขอบคุณค่ะ
อ้างอิง
http://e-jodil.stou.ac.th/Page/restemplate2.aspx
http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/APA_Style.pdf