NURTURE ONE RESEARCHER AT A TIME.
จุดประสงค์งานวิจัย เราทำไปเพื่ออะไรกัน?
จุดประสงค์งานวิจัยเป็นเสมือนเป้าหมาย ปลายทางของการทำวิจัย เป็นคำสัญญาต่อผู้อ่าน (และตัวผู้ทำวิจัยเอง) ว่าเมื่อได้อ่านวิจัยเล่มนี้จบแล้ว ผู้อ่านจะได้รับข้อมูลต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในจุดประสงค์ของการทำวิจัยอย่างครบถ้วน
ในการเขียนจุดประสงค์งานวิจัย แทบจะเป็นสูตรตายตัวที่ประโยคจะมาด้วยโครงสร้างนี้ คือ “เพื่อ + กริยา + กรรม” เช่น เพื่อศึกษาประโยชน์ของการดื่มนม เพื่อหาความสัมพันธ์ของ A และ B หรือ เพื่อค้นหาแนวทางในการลดผลกระทบ เป็นต้น
โดยมากแล้ว งานวิจัยชิ้นต่าง ๆ มีจุดประสงค์อะไรบ้าง
-
เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ ประวัติศาสตร์ สิ่งที่เกิดขึ้นแต่ยังไม่มีการบันทึกไว้ และนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีกว่าเดิมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
-
เพื่อแสดงลักษณะ/องค์ประกอบที่มีความจำเพาะของเหตุการณ์หรือกลุ่มเป้าหมาย
-
เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร หรือ ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มากกว่า 2 ตัวแปร
-
เพื่อศึกษา/คาดการณ์/ประเมินผลกระทบจากเหตุการณ์หรือการกระทำ
-
เพื่อพิสูจน์ข้อสรุป/ทฤษฎีเก่าจากข้อมูลที่ใหม่กว่า
-
เพื่อพิสูจน์ข้อสรุป/ทฤษฎีใหม่จากข้อมูลเดิม
-
เพื่อทำการนำเสนอทฤษฎีใหม่ ๆ
-
เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือลดผลกระทบในขอบเขตเนื้อหา/พื้นที่ที่ศึกษา
จุดประสงค์งานวิจัยจะถูกระบุไว้เพื่อให้สอดคล้องกับขอบเขตเนื้อหาในการทำงานของเรา ดังนั้น หากเรามีจุดประสงค์งานวิจัยที่ชัดเจน การทำวิจัยของเราก็จะไม่หลงทาง สามารถใช้เวลาในการทำวิจัยได้อย่างเต็มที่ในการสร้างคุณค่าของงานวิจัยตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
#theTSISThailand