NURTURE ONE RESEARCHER AT A TIME.
"เก็บ" อย่างไร ให้ได้คำตอบ
"เก็บ" อย่างไรให้ได้คำตอบ
การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับงานวิจัย เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่สามารถทำให้เราทราบถึงข้อมูลทั้งหมดที่เรามี และสามารถประเมินได้ว่าข้อมูลที่เรามีนั้น เพียงพอหรือไม่ และตอบโจทย์งานวิจัยที่เราตั้งไว้ได้หรือเปล่า เพราะฉะนั้นจะการเก็บข้อมูลเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ และสามารถเติมเต็มงานวิจัยของเราให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้
การเก็บรวบรวมข้อมูล คืออะไร
การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง กระบวนการที่จะได้ข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล และการรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือหลากหลายรูปแบบในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ
ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย อาจแบ่งจำแนกได้หลาย ๆ วิธี ที่นิยมใช้กันมาก คือ 1) จำแนกตามลักษณะของข้อมูล และ 2) จำแนกประเภทตามวิธีการเก็บรวบรวม
ลักษณะของข้อมูล
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวแปรที่สำรวจโดยใช้วิธีการวัดแบบใดแบบหนึ่ง โดยทั่วไปจำแนกตามลักษณะของข้อมูลได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่บอกเป็นตัวเลขหรือนำมาให้รหัสเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถวัดออกมาเป็นค่าตัวเลขที่นำมาใช้เปรียบเทียบขนาดได้โดยตรง เช่น จำนวนนักศึกษา คะแนน น้ำหนัก ระยะทาง เป็นต้น
2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) คือ ข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลข ไม่ได้มีการให้รหัสตัวเลขที่จะนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ แต่จะบอกในลักษณะคำพูด หรือบรรยายที่แสดงคุณลักษณะที่แตกต่างของตัวแปรต่างๆ โดยพยายามแยกเป็นกลุ่มตามคุณสมบัติ เช่น อาชีพ ศาสนา สถานภาพ สมรส เพศ เป็นต้น
ที่มาของข้อมูล จำแนกตามวิธีการเก็บรวบรวม แบ่งเป็น 2 ประเภท
1) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้จะต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูล หรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมขึ้นใหม่จากแหล่งกำเนิดของข้อมูลโดยตรงไม่มีการเปลี่ยนรูปหรือเปลี่ยนความหมาย เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต และข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่มักจะเสียเวลาในการจัดหาและมีค่าใช้จ่ายสูง
2) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง แต่ได้มาจากข้อมูลที่ผู้อื่นเก็บรวบรวมไว้แล้ว เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถเก็บรวบรวมจากแหล่งกำเนิดของข้อมูลได้โดยตรง แต่ได้จากแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้แล้ว เช่น ข้อมูลสถิติต่างๆ ที่มีการบันทึกไว้แล้ว ข้อมูลจากรายงานการวิจัย บันทึกการนิเทศ เป็นต้น ซึ่ง อาจมีการเปลี่ยนรูป หรือมีข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ การนาเอาข้อมูลเหล่านี้มาใช้เป็นการประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย แต่ในบางครั้งข้อมูลอาจจะไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ หรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอที่จะนาไปวิเคราะห์
ขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกเป็นขั้นตอนดังนี้
1) กำหนดข้อมูลและตัวชี้วัด เป็นการกำหนดว่าข้อมูลที่ต้องการมีอะไรบ้าง โดยการศึกษาและวิเคราะห์จากวัตถุประสงค์หรือปัญหาของการวิจัยว่ามีตัวแปรอะไรบ้างที่เป็นตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม และตัวแปรที่เกี่ยวข้อง และจะใช้อะไรเป็นตัวชี้วัดจึงจะได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
2)กำหนดแหล่งข้อมูล เป็นการกำหนดว่าแหล่งข้อมูลหรือผู้ให้ข้อมูลเป็นใครอยู่ที่ไหน มีขอบเขตเท่าไร ที่จะต้องกำหนดให้ชัดเจน และเป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ แล้วจะต้องพิจารณาว่าแหล่งข้อมูลนั้น ๆ สามารถที่จะให้ข้อมูลได้อย่างครบถ้วนหรือไม่
3) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง เป็นการเลือกใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างเหมาะสม และขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม
4) เลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล จะต้องเลือกใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสม (แหล่งข้อมูล/ขนาดกลุ่มตัวอย่าง/การวิเคราะห์ข้อมูล) ประหยัด ได้ข้อมูลอย่างครบถ้วนมีมากเพียงพอและเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้
5) นำเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลไปทดลองใช้ เป็นการทดลองใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นหรือนำของคนอื่นมาใช้กับกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพที่จะต้องปรับปรุงและแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมไว้และปรับเปลี่ยนวิธีการตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เพื่อให้ได้รับข้อมูลกลับคืนมา มากที่สุด
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล อาจแบ่งเป็นวิธีการใหญ่ๆ ได้ 3 วิธี คือ
1) การสังเกตการณ์ (Observation) ทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ( Non-participant Observation) หรืออาจจะแบ่งเป็น การสังเกตการณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Observation) และการสังเกตการณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ( Unstructured Observation)
2) การสัมภาษณ์ ( Interview) นิยมมากในทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม ( Questionnaire) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) หรืออาจจะจำแนกเป็นการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล และการสัมภาษณ์เป็นกลุ่ม เช่น เทคนิคการสนทนากลุ่ม ( Focus Group Discussion) ซึ่งนิยมใช้กันมาก
3) การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร เช่น หนังสือ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น
ประเภทของเครื่องมือรวบรวมข้อมูล
ตัวอย่างเช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินค่าและมาตรวัดเจตคติ และแบบวัดอื่นๆ
อ้างอิง