top of page

"Same Same But Different"

ดร.ศิญาณี หิรัญสาลี

Cover_PT3-02.png

Same Same But Different : written by ดร.ศิญาณี หิรัญสาลี

ว่าด้วยเรื่อง Chinese Social Credit และ ระบบ Nosedive จากซีรี่ Black Mirror

เป็น Talk of the town อีกครั้งกับการริเริ่มเก็บเครดิตทางสังคม (Social Credit) จากรัฐบาลจีน (อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.abc.net.au/news/2018-09-18/china-social-credit-a-model-citizen-in-a-digital-dictatorship/10200278) หลายคนที่ได้เห็นข่าวนี้ก็ต้องอุทานเป็นเสียงเดียวกันว่า “นี่มัน Black Mirror ชัด ๆ” !!!!!! ต้องบอกเลยว่าแว้บแรกในหัวก็อาการเดียวกัน ได้ยินเสียงลือเสียงเล่าอ้างมานานกับแนวคิดนี้ แต่เห็นตัว proyo

*สำหรับผู้ที่ไม่ get ว่าทำไมต้อง “Black Mirror” ขอแนะนำให้ลองชม Original series จากทาง Netflix ที่ชื่อว่า Black Mirror พุ่งไปเลยที่ Season 3 Episode 1: Nosedive

ว่ากันที่ความเหมือนก่อน แน่นอนว่าทั้ง 2 ระบบนั้นใช้ความสามารถและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ ติดตาม และ รายงานผลข้อมูลของประชากรที่มีจำนวนหลายพันล้านได้อย่างเก่งกาจ

ผู้ที่ได้คะแนนทางสังคมสูงนั้นสามารถเข้าถึงสิทธิพิเศษบางประการที่เป็นแรงจูงใจให้ทุกคนอดทนในการรักษา “แต้มบุญ” นี้ไว้ เช่น ในระบบ Social credit ของจีนนั้นสามารถเข้าถึงการจองโรงแรม การรักษาพยาบาล แม้กระทั่งเรื่องส่วนตัวอย่างการเพิ่มความเป็นไปได้ในการหาคู่ผ่าน application จับคู่ ส่วนใน Nosedive นั้น จะเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “Prime” ซึ่งได้รับสิทธิพิเศษในเข้าถึงส่วนลดในการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ การเข้าถึงการเช่ารถ การจองตั๋วเครื่องบิน หรือ การเข้าใช้สถานที่ เป็นต้น

ใน Nosedive นั้นไม่ได้อธิบายรายละเอียดว่าเจ้าโปรแกรมนี้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบการบริหารจากรัฐหรือไม่ (Spoiler Alert) แต่จากฉากที่ Lacie ตัวดำเนินเรื่องหลักถูกหักแต้มความดีจากตำรวจสนามบิน และ ถูกส่งเข้าไปยังเรือนจำในฉากสุดท้ายเมื่อแต้มบุญหมด ส่วนในกรณีของจีนนั้น ชัดเจนว่า Big Brother is watching you นะจ้ะ ในเวปข่าว ABC กล่าวสรุปไว้อย่างน่าขนลุกกับประโยค If successful, it will be the world’s first digital dictatorship.

สำหรับความแตกต่างอย่างชัดเจนนั้น คือ Nosedive อาศัยหลักการ “รีวิว” ของปัจเจกบุคคล ที่สามารถแสดงความคิดเห็นทางตรงผ่านการให้คะแนนไปยังบุคคลนั้น ๆ ซึ่งเกณฑ์ในการให้คะแนนนั้นก็ขึ้นอยู่กับ “ความชอบส่วนตัว” ของปัจเจก ในขณะที่ Social Credit นั้นนอกจากจะถูกนำมาบังคับใช้โดยภาครัฐแล้ว ยังมีเกณฑ์การให้คะแนนที่เกิดจากรัฐอีกด้วย กล่าวโดยง่ายคือ Nosedive อาศัยมนุษย์ในการวิเคราะห์ ติดตาม และ รายงานผลแต้มบุญ แทนการใช้ข้อมูลจากกล้องวงจรปิดนั่นเอง

การให้คุณค่ากับแต้มบุญที่ว่านี้แน่นอนว่าจะต้องมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยฝั่งสนับสนุนนั้นให้ความเห็นว่า เป็นการกระตุ้นให้คนทำดี อยู่ในกฎระเบียบ และ ลดการเกิดพฤติกรรมในการทำผิดต่อสังคม ส่วนฝั่งที่เห็นแย้งโดยมากแสดงความกังวลว่าการให้คุณค่ากับแต้มบุญนั้นจะไปกระตุ้นการเกิดความแปลกแยกทางสังคม เป็นการตีตราและจัดระดับของมนุษย์ บุคคลที่ถูกจับไปอยู่ในเกรดที่ต่ำกว่าคนส่วนใหญ่นั้น ก็มักจะไม่ได้รับการยอมรับให้คืนสู่สังคมโดยง่าย และโดยมากจะถูกกดให้คะแนนต่ำลงไปเรื่อย ๆ

ในอนาคตเราคงได้เจออาชีพใหม่ที่จะเกิดขึ้นจากการเข้ามาของระบบแต้มบุญนี้ เช่น ผู้ให้คำปรึกษาทางด้านการวางแผนแต้มบุญ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยสร้างกลยุทธ์ในการ boost คะแนนของคุณให้อยู่ในระดับที่คุณพอใจ ทำงานร่วมกับ นักพัฒนาบุคลิกภาพและพฤติกรรม ที่ช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณให้ตรงกับที่เกณฑ์แต้มบุญว่าไว้

เรื่องราว Sci – fi ในหนังต่าง ๆ สมัยก่อนอาจใช้เวลาเป็นทศวรรษเพื่อจะทำให้เทคโนโลยีเหล่านั้นเกิดขึ้นจริง แต่พวกเรากำลังอยู่ในยุคที่เทคโนโลยีในหนังอาจเกิดขึ้นได้จริงทุกวัน พวกเราอยู่ในยุคที่จินตนาการเหลือเชื่อเกิดขึ้นได้จริงทุกวัน

 

 

 

 

 

อ้างอิง

Netflix : Black Mirror Season 3 : Nosedive

www.pinterest.com

http://mobile.abc.net.au

ad753c4f373b904bb1c63eef4744aa14.jpg
Screen Shot 2561-09-21 at 3.34.32 PM.png
5b108fbc96577ea50b080cac5c99150d.jpg
bottom of page