top of page

3 วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ "พายุ" 

Cover_Strom-02.png

ชื่อเรื่อง : การวิเคราะห์ลมฝนฟ้าคะนองและผลกระทบที่มีต่อโครงสร้าง

ชื่อผู้แต่ง : รุ่งศักดิ์ สุทธิธนมงคล

ปีการศึกษา : วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2552

 

จุดประสงค์ของการทำวิจัย : 

1.รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพายุฝนฟ้าคะนองในประเทศไทย
2.ศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพและทางพลศาสตร์ของลมที่เกิดจากพายุฝนฟ้าคะนองและลมมรสุมปกติ พร้อมทั้งเปรียบเทียบคุณลักษณะทางกายภาพและพลศาสตร์ของลมที่เกิดจากพายุฝนฟ้าคะยองและลมมรสุมปกติ
3.วิเคราะห์ผลการตอบสนองของโครงสร้างที่มีต่อลมที่เกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง
4.เสนอแนวทางในการปรันปรุงข้อกำหนดในการออกแบบเพื่อต้านทานแรงลมที่เกิดจากพายุฝนฟ้าคะนอง

ระเบียบวิธีวิจัย :

การเก็บข้อมูลความเร็วลมสำหรับในการวิจัยครั้งนี้ได้จากข้อมูลการตรวจจับความเร็วลมตามสถานีตรวจวัดต่าง ๆ ทั้งของกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานอื่น ๆ รวมทั้งข้อมูลภาพถ่ายทางดาวเทียมที่บริเวณสนามบินสุวรรณูมิ 

การวิเคราะห์และสรุปผล : 
ทำการวิเคราะห์ข้อมูลได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือการวิเคราะห์ข้อมูลความเร็วสูงสุดในแต่ละปีของกรมอุตุนิยมวิทยา และการวิเคราะห์ข้อมูลความเร็วและทิศทางลมของสถานีตรวจวัดลมในสนามบินสุวรรณภูมิ จากการวิเคราะห์การแปรเปลี่ยนของความเร็วลมและทิศทางลมตามเวลา ประกอบกับข้อมูลเรดาร์ของกลุ่มฝน ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 เดือนกันยายน พ.ศ. 2550 พบว่าในบริเวณนี้เกิดลมที่มีลักษณะสอดคล้องกับลมฝนฟ้าคะนองอย่างเด่นชัดทั้งสิ้น 44 ครั้ง โดยมีความเร็วลมกระโชกสูงสุดประมาณ 39 น็อต และเมื่อนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ถึงการตอบสนองของอาคาร เป็นการเปรียบเทียบการตอบสนองอาคารที่รับแรงเนื่องจากอิทธิพลของพายุฝนฟ้าคะยองและลมปกติ โดยใช้แบบจำลองที่มีระดับชั้นความเสรีเดียว (Single degree of freedom) รับความแรงลมที่มาจากความเร็วลมสี่รูปแบบ ค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ผลนั้น พบว่าการเมื่อความปั่นป่วนของแรงลมเพิ่มขึ้นจะมีผลกับค่าเฉลี่ยของรูปแบบแรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วกับแรงรูปแบบกราฟซายน์มากกว่า รูปแบบแรงแบบสี่เหลี่ยมและสามเหลี่ยมมุมฉาก

ประโยชน์และการนำไปใช้ : 

1.วิทยานิพนธ์ที่แล้วเสร็จ จะเป็นแหล่งข้อมูลที่ใช้ค้นคว้าถึงลักษณะของพายุฝนฟ้าคะยองและอิทธิพลที่มีผลต่ออาคารและโครงสร้าง
2.ผลการวิจัยจะทำให้เกิดองค์ความรู้และการเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมทางพลศาสตร์ของ ลมพายุฝนฟ้าคะนองที่มีต่อโครงสร้างมากยิ่งขึ้น
3.ได้ทราบถึงสิ่งที่ควรปรับปรุงในมาตรฐานการออกแบบของประเทศไทย ให้สามารถต้านทานต่อ พายุฝนฟ้าคะนองได้อย่างปลอดภัย

 

แหล่งข้อมูล : http://digi.library.tu.ac.th/thesis/en/0486/01title-illustrations.pdf

ชื่อเรื่อง : การพยากรณ์เส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อนสำหรับประเทศไทย โดยแบบจำลองพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขรายละเอียดสูง 
         (Tropical Strom Track Prediction for Thailand by a High Resolution Numerical Weather Prediction Model)

ชื่อผู้แต่ง : สุกันยาณี ยะวิญชาญ, สันติ ซัมดิน และชัชชัย ไชยแสน

ปีการศึกษา : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2552 

จุดประสงค์ของการทำวิจัย :

เพื่อพัฒนาการพยากรณ์เส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อนจากแบบจำลองการพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลขให้มีความถูกต้องทั้งในด้านตำแหน่ง ทิศทาง และความรุนแรง โดยการปรับปรุงข้อมูลเริ่มต้นด้วยวิธีการ Vortex bogussing

ระเบียบวิธีวิจัย : 

ศึกษาโดยนำวิธี rankin vortex bogussing  มาประยุกต์ใช้บนพื้นฐานสมการการวิเคราะห์ที่อาศัยตัวแปรความเร็วลม (tangent wind speed) และ gopotential height  ในการปรับปรุงความแรงพายุ โดยกำหนดรัศมีของพายุมีขนาด 600 กิโลเมตร และรัศมีของความเร็วลมสูงสุดบริเวณพายุเท่ากับ 100 กม. การปรับปรุงทิศทางการเคลื่อนที่ของพายุเมื่อเวลาเริ่มต้นใช้ข้อมูลค่าสังเกตซึ่งเป็นผลการวิเคราะห์ตำแหน่งศูนย์กลางพายุในช่วงเวลาที่ผ่านมาจากศูนย์ประจำภูมิภาค (RSMC) ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ตำแหน่งศูนย์กลางพายุ ณ เวลาต่าง ๆ ความเร็วลมสูงสุด ความกดอากาศต่ำสุดที่ศูนย์กลางพายุเป็นต้น การประเมินผลการพยากรณ์ทำโดยการเปรียบเทียบระหว่างเส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุจากแบบจำลองก่อนและหลังทำ vortex bogussing และทางเดินเส้นทางการเคลื่อนตัวจริงของพายุจาก RSMC ซึ่งเรียกว่า best track

 

การวิเคราะห์และสรุปผล : 
ผลการศึกษาพบว่า vortex bogussing  ให้ผลการพยากรณ์เส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุซึ่งมีระยะทางผิดพลาดลดลง และความรุนแรงของพายุใกล้เคียงความจริงมากขึ้น อย่างไรก็ตามการพยากรณ์มีแนวโน้มให้เส้นทางการเคลื่อนตัวของพายุอยู่เหนือ best track  เมื่อพายุมีความเร็วลมสูงสุดตั้งแต่ 70 น้อตขึ้นไป และมีแนวโน้มให้ทางเดินอยู่ต่ำกว่า best track เมื่อพายุมีความเร็วลมสูงสุดต่ำกว่า 60 น็อต

 

ประโยชน์และการนำไปใช้ : 

สามารถคำนวณเส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อนสำหรับประเทศไทยได้แม่นยำมากขึ้น ทั้งในด้านตำแหน่ง ทิศทาง และความรุนแรง

 

แหล่งข้อมูล : http://library.cmu.ac.th/rsc/?newsdetail.php&id=226

ชื่อเรื่อง : การศึกษาเปรียบเทียบสภาพการณ์และแนวทางแก้ไขภัยพิบัติในพระพุทธศาสนากับสังคมปัจจุบัน
         (A Comparative Study of Situation and Guidelines to solove Disasters in Buddhism and the present society)

ชื่อผู้แต่ง : พระวีระพงษ์ อธิจิตฺโต (บุญคง)

ปีการศึกษา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2554 

 

จุดประสงค์ของการทำวิจัย :
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพการณ์และแนวทางแก้ไขภัยพิบัติในพระพุทธศาสนากับสังคมปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการ คือ 

1. เพื่อศึกษาสภาพการณ์และแนวทางแก้ไขภัยพิบัติในพระพุทธศาสนา 
2. เพื่อศึกษาสภาพการณ์และแนะแนวทางแก้ไขภัยพิบัติในสังคมปัจจุบัน 
3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบของสภาพการณ์และแนวทางแก้ไขภัยพิบัติในพระพุทธศาสนากับสังคมปัจจุบัน

ระเบียบวิธีวิจัย : 
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีวิธีการดำเนินการวิจัยดังนี้

1. ศึกษาเอกสารขั้นปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฉบับภาษาบาลี 
2. ศึกษาเอกสารข้อมูลขั้นทุติยภูมิ ได้แก่ อรรถกถาปกรณ์วิเสส จากนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา และตำราวิชาการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดทั้งเอกสาร วารสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ตีพิมพ์เกี่ยวขอ้งกบัการเกิดเหตุการณ์ภยัพิบัติการบรรยายในรายวิชาเรียนที่เกี่ยวกับงานวิจัยนี้
3. วิเคราะห์และตีความหมายข้อมูลที่ได้รวบรวมจากขั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ              
4. จัดทำข้อมูลและเรียบเรียงสรุปผลการวิจัยก่อนเสนอวิเคราะห์
5. เสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

การวิเคราะห์และสรุปผล : 

การเปรียบเทียบสภาพการณ์และแนวทางแก้ไ้ขภยัพิบัติในพระพุทธศาสนากับสังคมปัจจุบัน พบว่าในจุดเหมือน หมายถึง เหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อมนุษย์สำหรับจุดแตกต่างในสังคมปัจจุบนั ที่เน้น  เฉพาะภัยภายนอกแต่ความหมายส่วนใหญ่ สร้างความเสียหายเหมือนกัน ด้านลักษณะในจุดเหมือนเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมจุดต่างกันอยู่ที่ปัจจุบันกำหนดได้ชัดเจนว่าเป็นภัยพิบัติเฉพาะพื้นที่และในวงกว้าง ด้านประเภทเหมือนกันในประเภทใหญ่ ๆ แต่ต่างกันในประเภทย่อย ด้านผลกระทบในทรรศนะทางพระพุทธศาสนาก็กล่าวในด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งมีความใกลต้วักว่าในทรรศนะสังคมปัจจุบันแต่มีพื้นฐานของความเสียหายคล้ายคลึงกัน ส่วนแนวทางแก้ไขภยัพิบัติในความแตกต่างน้ันพระพุทธศาสนา เน้นการรักษากาย วาจา และใจโดยอาศัยหลักธรรมวินัย เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติโดยมนุษย์จะต้องเข้าใจองค์ประกอบต่าง ๆ ในธรรมชาติโดยมีท่าทีที่ถูกต้องต่อธรรมชาติอยู่แบบพึ่งอาศัยกันท้ังสองฝ่าย ซึ่งแตกต่างจากสังคมปัจจุบัน ที่แก้ไขภัยพิบัติจากภายนอกโดยหลักวิทยาศาสตร์

ประโยชน์และการนำไปใช้ :  

1. ทำให้ทราบสภาพการณ์และแนวทางแแก้ไขภัยพิบัติในพระพุทธศาสนา
2. ทำให้ทราบสภาพการณ์และแนวทางแก้ไขภัยพิบัติในสังคมปัจจุบัน
3. ทำให้ทราบสภาพการณ์และแนวทางแก้ไขภัยพิบัติในพระพุทธศาสนากับสังคมปัจจุบัน

แหล่งข้อมูล : 

http://www.mcu.ac.th/userfiles/file/mcuthesis2556library/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2/221-2555.pdf

bottom of page