top of page
  • Writer's pictureTSIS

การเขียนอ้างอิง เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

By TSIS Team


การเขียนอ้างอิง ถือเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัย เพราะเป็นการแสดงถึงแหล่งข้อมูลที่เราได้ศึกษาค้นคว้า และช่วยให้งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ของเรามีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น ในวันนี้เราจะมาพูดถึงการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA


การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association)


การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) พัฒนามาจากนักสังคมศาสตร์และนักพฤติกรรมศาสตร์มากว่า 80 ปี เพื่อเป็นมาตรฐานในการเขียนอย่างเป็นระบบสำหรับภาคนิพนธ์การทำวิจัย รายงานการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม บทความและกรณีศึกษา สำหรับนักเขียนและนักศึกษา ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และจิตวิทยา


การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (Citing References in Text)

รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา มี 3 รูปแบบ ดังนี้


1. (ผู้แต่ง, ปีพิมพ์, เลขหน้า) ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง

  • (สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2549, น. 200-205)

  • (McCartney & Phillips, 2006, pp. 498-499)

  • (Murphy, 1999, p. 85)

2. ผู้แต่ง (ปีพิมพ์, เลขหน้า) กรณีมีการระบุชื่อผู้แต่งในเนื้อหาแล้ว ไม่ต้องระบุ ไว้ในวงเล็บท้ายข้อความที่อ้างอีก

  • 20 ลดาพร บุญฤทธิ์ (2539, น. 49) ได้ศึกษาถึง................................

  • Kanokon Boonsarngsuk (2002, p. 14) studied………………………………….

ในกรณีที่ไม่ปรากฏเลขหน้าให้ลงแค่ชื่อผู้แต่งกับปีพิมพ์โดยลงปีพิมพ์ไว้ในวงเล็บ ลดาพร บุญฤทธิ์ (2539)


3. ปีพิมพ์ ผู้แต่ง (เลขหน้า) กรณีมีการระบุปีพิมพ์และผู้แต่งในเนื้อหาแล้ว (ปีพิมพ์และผู้แต่งสามารถสลับที่กันได้) ให้ระบุเฉพาะเลขหน้าที่อ้างถึงในวงเล็บเท่านั้น

  • ในปี 2542 เสรี วงษ์มณฑา ได้ให้ความหมายว่า “การประชาสัมพันธ์เป็นการกระทำ ทั้งหลายทั้งปวง ที่เกิดจากการวางแผนล่วงหน้าในการที่จะสร้างความเข้าใจกับสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดี ภาพพจน์ที่ดี อันนำไปสู่สัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยงานและสาธารณชนที่ เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดการสนับสนุนและความร่วมมือเป็นอย่างดี” (น. 9)

  • In 1996, According to Kaplan and Norton, “the implementation of the Balanced Scorecard allows the organization to be managed successfully. It support the deployment of business strategies, meeting customer needs, and the visibility of process problem” (p. 7).

หากข้อความที่คัดลอกมามีความยาวไม่เกิน 3 บรรทัด ให้พิมพ์ต่อเนื่องกับ เนื้อหาโดยไม่ต้องย่อหน้าใหม่และให้ใส่เครื่องหมายอัญประกาศ (“……”)


ประเภทของการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (Citing References in Text)

1. การอ้างเอกสารหนึ่งเรื่องที่มีผู้แต่งคนเดียว

สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศให้ลงเฉพาะชื่อสกุล กรณีผู้แต่งชาวไทยลงชื่อตามด้วยชื่อสกุล แม้จะเขียนเป็นภาษาอังกฤษก็ตาม

  • Kessler (2003) found that among epidemiological samples In

  • สมควร กวียะ (2547, น. 41) ให้ความหมายของสื่อพื้นบ้านว่า………..

2. การอ้างเอกสารหนึ่งเรื่องที่มีผู้แต่งหลายคน

  • (กมล บุษบา และ สายทอง อมรวิเชษฐ์, 2546, น. 45)

  • Kisangu, Lyaruu, Housea and Joseph (2007)

ในการอ้างซ้ำครั้งถัดไป ลงเฉพาะชื่อผู้แต่งคนแรกตามด้วยคำว่า ‘และคณะ’ สำหรับงานเขียนภาษาไทย หรือ et al สำหรับงานเขียนภาษาต่างประเทศ

  • Kisangau et al. (2007)

3. การอ้างเอกสารที่ผู้แต่งเป็นนิติบุคคล

นิติบุคคล ได้แก่ บริษัท สมาคม หน่วยราชการ ในการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาให้ลงชื่อเต็มในการอ้างถึงครั้งแรก เมื่ออ้างซ้ำสามารถใช้ตัวอักษรสำหรับนิติบุคคลเหล่านั้นได้ หากอักษรย่อซ้ำกับหน่วยงานบางหน่วยงาน ต้องลงชื่อเต็มทุกครั้งเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

  • United Nation (2004)

  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (2552)

4. การอ้างเอกสารที่ผู้แต่งชื่อสกุลซ้ำกัน

4.1 กรณีเอกสารไม่มีผู้แต่ง

  • (“รพ.เอกชนต้องเป็นหัวหอก,” 2549)

  • ชื่อบทความไม่ยาวมาก ใส่ชื่อเต็ม

  • On free care (“Study Finds,” 2007)

4.2 กรณีเอกสารไม่ปรากฏผู้แต่ง

  • (Anonymous, 1998)

  • (ไม่ปรากฏผู้แต่ง, 2541)

5. การอ้างเอกสารที่ผู้แต่งชื่อสกุลซ้ำกัน

หากในรายการอ้างอิงมีเอกสารหลายชิ้นที่มีผู้แต่งหลายคนชื่อสกุลซ้ำกัน ในการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาให้ลงอักษรย่อชื่อต้นและชื่อกลาง (ถ้ามี) ของผู้แต่งคนแรกของแต่ละรายการ แม้ปีพิมพ์จะต่างกัน

  • ในเนื้อหา : Among studies, we review M. A. Light (2008) and I. Light (2006).

  • รายการอ้างอิง : Light, I. (2006). Deflecting immigration: Networks, markets, and regulation in Los Angeles. New York, NY: Russell Sage Foundation.

6. การอ้างเอกสารมากกว่าหนึ่งเรื่องที่มีผู้แต่งซ้ำกัน ปีพิมพ์ต่างกัน

ให้ระบุชื่อผู้แต่งในการอ้างครั้งแรก หลังจากนั้นลงเฉพาะปีที่พิมพ์โดยเรียงลำดับเอกสารตามปีที่พิมพ์ คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาพ สำหรับเอกสารที่อยู่ระหว่างการจัดพิมพ์ใช้คำว่า กำลังจัดพิมพ์ หรือ In press ต่างจากปีที่พิมพ์

  • (บุญยงค์ เกศเทศ, 2516, 2520, 2523, กำลังจัดพิมพ์)

  • (Edeline & Weinberger, 1991, 1993)

7. การอ้างเอกสารมากกว่าหนึ่งเรื่องที่ผู้แต่งและปีพิมพ์ซ้ำกัน

ระบุผู้แต่งเพียงครั้งเดียว เรียงลำดับเอกสารตามปีที่พิมพ์ด้วยตัวอักษร ก ข ค ง สำหรับงานเขียนภาษาไทย หรือ a b c d สำหรับงานเขียนภาษาอังกฤษ ท้ายปีพิมพ์แต่ละปีคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)

  • Several studies (Derryberry & Reed, 2005a, 2005b, in press-a; Rothbart, 2003a, 2003b)

  • (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2548ก, น.55, 2548ข, น. 23)

8. การอ้างเอกสารมากกว่าหนึ่งเรื่องที่ผู้แต่งต่างกัน

เรียงลำดับตามอักษรชื่อผู้แต่งคั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (;) กรณีที่งานทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศถูกอ้างพร้อมกัน ให้เริ่มที่งานเขียนภาษาไทยก่อน

  • Several studies (Miller, 1999; Shafranske & Mahoney, 1998)

  • (พรทิพย์ พิมลสินธุ์, 2542; อ านวย วีรวรรณ, 2540)

9. การอ้างเอกสารทุติยภูมิ

ในการอ้างเอกสารแทรกในเนื้อหาโดยที่ไม่ใช่เอกสารต้นฉบับ ให้ระบุชื่อเอกสารต้นฉบับและคำว่า“อ้างถึงใน” สำหรับภาษาไทย หรือ “as cited in” สำหรับภาษาอังกฤษตามด้วยชื่อผู้แต่งเอกสารทุติยภูมิและปีพิมพ์ สำหรับการลงรายการอ้างอิงท้ายเล่ม ลงชื่อผู้แต่งเอกสารทุติยภูมิเท่านั้น

  • Allport’s diary (as cited in Nicholson, 2003)

  • กาญจนา แก้วเทพ, 2538, น.126, อ้างถึงใน เกศินี จุฑาวิจิตร, 2540, น.88

10. การอ้างเอกสารที่เป็นงานแปล

ใส่ชื่อผู้แต่งที่เป็นเจ้าของเรื่องตามด้วยปีพิมพ์ของต้นฉบับและปีพิมพ์ของฉบับแปลโดยใช้เครื่องหมายทับ (/) คั่น ถ้าไม่ทราบปีพิมพ์ของต้นฉบับให้ใส่เฉพาะปีพิมพ์ของฉบับแปล

  • (ปรามาท, 2005/2549)

  • (ไรค์เฮลด์, 2003/2548)

  • (Catherine II, 2006)

  • (Japan Society for the Promotion of Science, 1975/1980)

  • (Laplace, 1814/1951)

11. การอ้างเอกสารงานคลาสสิก

  • (Center for Diseases Control and Prevention, 2005, p. 10)

  • (Shimamura, 1983, Chapter 3)

  • (ณรงค์วิทย์ แสนทอง, 2550, น. 31)

  • (นงลักษณ์ ลิ้มศิริ, 2549, บทที่ 3)

12. การอ้างเอกสารบางส่วน

  • (Center for Diseases Control and Prevention, 2005, p. 10)

  • (Shimamura, 1983, Chapter 3)

  • (ณรงค์วิทย์ แสนทอง, 2550, น. 31)

  • (นงลักษณ์ ลิ้มศิริ, 2549, บทที่ 3)

13. การอ้างการสื่อสารระหว่างบุคคล

การสื่อสารระหว่างบุคคลอาจเป็นจดหมายโต้ตอบส่วนบุคคล บันทึก อีเมล กลุ่มสนทนาหรือกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ การสัมภาษณ์หรือสนทนาทางโทรศัพท์ โดยระบุชื่อผู้ที่ทำการสื่อสาร ประเภทของการสื่อสาร และเดือน วันที่, ปี ค.ศ. สำหรับการอ้างอิงที่เป็นภาษาต่างประเทศ ถ้าเป็นการอ้างอิงที่เป็นภาษาไทย ให้ลงชื่อผู้ที่ทำการสื่อสาร ประเภทของการสื่อสาร และวันที่ เดือน ปี พ.ศ. โดยไม่ต้องมีเครื่องหมายใด ๆ คั่น

  • T. K. Lutes (personal communication, April 18, 2001)

  • ชัยฤทธิ์ ยนต์เปี่ยม (สัมภาษณ์, 26 กรกฎาคม 2549)


ประเภทของข้อมูลในรายการอ้างอิง


รายการอ้างอิงเป็นการระบุเอกสารที่ใช้อ้างอิงในตอนท้ายของงานวิจัย โดยการเรียงตามลำดับตัวอักษรตามรูปแบบการเขียนอ้างอิงในระบบ APA ซึ่งในวันนี้เราได้ยกตัวอย่างรายการอ้างอิงที่ใช้กันเป็นประจำ


วารสาร นิตยสาร บทความ

ผู้แต่งคนที่ 1,\ผู้แต่งคนที่ 2,\และผู้แต่งคนที่ 3.\(ปีพิมพ์).\ชื่อบทความ.\ชื่อวารสาร,\ปีที่(ฉบับที่),\

เลขหน้า Retrieved from (สืบค้นจาก สำหรับภาษาไทย)\http://www.xxxxxx


  • จิราภรณ์ เตชะอุดมเดช. (2550). ประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการดูแลผู้ป่วยขณะใส่เครื่องช่วยหายใจ [Effectiveness of computer assisted instruction lessons in nursing care for the patient with respiratory ventilator]. วารสารการศึกษาพยาบาล, 18(1), 9-15.

  • Sillick, T. J., & Schutte, N. S. (2006). Emotional intelligence and self-esteem mediate between perceived early parental love and adult happiness. E-Journal of Applied Psychology, 2(2), 38-48. Retrieved from http://ofs.lib.swin.edu.au/indes.php/ejap/article/view/71/100

  • Brody, J. E. (2007, December 11). Mental reserves keep brain agile. The New York Times. Retrieved from http://www.nytimes.com

หนังสือ

ผู้แต่ง.\(ปีพิมพ์).\ชื่อเรื่อง.\สถานที่พิมพ์:\สำนักพิมพ์.


  • Shotton, M. A. (1989). Computer addiction? A study of computer dependency. London: Taylor & Francis.

  • กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์. จิตติ ติงศภัทิย์. (2526). ค้าอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • Graham, G. (2005). Behaviorism. In E.N. Zalta (Ed.), The Stanford encyclopedia of philosophy (Fall 2007 ed.). Retrieved from http://plato.stanford.edu/entries/behaviorism/

วิทยานิพนธ์

ผู้แต่ง.\(ปีพิมพ์).\ชื่อเรื่อง.\(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตหรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต).\

ชื่อมหาวิทยาลัย,\ชื่อคณะ,\ชื่อสาขาวิชาหรือภาควิชา.

  • ธีระพันธ์ ชนาพรรณ. (2548). การจัดการการสื่อสารของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาการสื่อสารภาครัฐและเอกชน.

  • Adams, R. J. (1973). Building a foundation for evaluation of instruction in higher education and continuing education.(Doctoral dissertation). Retrieved from http://www.ohiolink.edu/etd/

  • อรทัย จุลสุวรรณรักษ์. (2550). การค้ามนุษย์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์. สืบค้นจาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&browse_type=title&titleid=164530

การสัมภาษณ์

ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์.\ตำแหน่ง, สถานที่ทำงาน (ถ้ามี).\(ปี, เดือน วันที่สัมภาษณ์).\สัมภาษณ์.

  • สุวรรณ จันทิวาสารกิจ. วิศวกรระบบ บริษัท ทู-บี-วัน เทคโนโลยี จ ากัด. (28 ตุลาคม 2548). สัมภาษณ์.

เว็บไซต์

ชื่อผู้เขียน./ (ปีที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต)./ ชื่อเรื่อง./ สืบค้นเมื่อวัน เดือน ปี,/ จากเว็บไซต์: /URL Address

  • Jairaksa, S. (2017).Promote Technical Occupations. Retrived May 29, 2018, from http://cddata.cdd.go.th/cddkm/prov/km2_viewlist.php?action=view&div= 64&kid=28748

เป็นอย่างไรบ้างครับ การเขียนอ้างอิงงานวิจัยไม่ได้ยากอย่างที่คิด สิ่งที่ยกมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างในการเขียนอ้างอิงเท่านั้น ยังมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงอีกหลายประเภท ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มได้ที่ APA (American Psychological Association)


แหล่งอ้างอิง

http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/APA_Style.pdf?fbclid=IwAR1H2Rgwn4VkZFtXzE4M53_b5pzcg3ocYCFj9LFu81s-9ZFTHJ32U_H1K_Q




22,286 views
bottom of page