top of page
  • Writer's pictureTSIS

ทำวิจัย ทำไมต้องออกแบบ

By TSIS Team

การออกแบบการวิจัย เป็นการวางโครงสร้างเฉพาะของการวิจัย ซึ่งจะครอบคลุมถึงการออกแบบ การสุ่มตัวอย่าง การออกแบบการใช้สถิติที่เหมาะสม การออกแบบการวิจัยจึงเป็นขั้นตอนในการเตรียมแผนงานก่อนจะดำเนินการวิจัย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยทำการวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการวิจัยเพื่อตอบปัญหาที่ผู้วิจัยเลือก



ประเภทของการออกแบบวิจัย

การออกแบบการวิจัยมีหลายประเภท มีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ของผู้วิจัยว่าจะเลือกใช้เกณฑ์ใดในการออกแบบ


1. แบ่งตามเกณฑ์จุดมุ่งหมาย (End-Sought of Research)

เพื่อค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ทดสอบทฤษฎี และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ โดยจุดมุ่งหมายดังกล่าว ประกอบด้วย

  1. มุ่งสำรวจ (Survey / Explore)

  2. เพื่อบรรยาย พรรณนา (Describe)

  3. เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ หรืออธิบายในเชิงสาเหตุ (Explanation / Prediction)

  4. เพื่อควบคุมในการวิจัยแบบทดลอง (Control)


2. แบ่งตามเกณฑ์การเปรียบเทียบผลการศึกษา

  1. หากศึกษาเพียงกลุ่มเดียว โดยไม่มีการเปรียบเทียบผลการศึกษา ระหว่างกลุ่มของประชากรกับกลุ่มตัวอย่าง เรียกว่ารูปแบบ การวิจัยเชิงพรรณา (Describe Study Design)

  2. รูปแบบการวิจัยที่มักจะมีประชากรที่ศึกษามากกว่าหนึ่งกลุ่ม และมีการเปรียบเทียบผลการวิจัยระหว่างกลุ่มของประชากร เรียกว่ารูปแบบ การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytic Study Design)


3. แบ่งตามเกณฑ์ให้ปัจจัย (Treatment)

  1. รูปแบบการวิจัยที่ผู้วิจัยมิให้ปัจจัยใด ๆ เพียงแต่เฝ้าติดตามและสังเกตผลที่เกิดขึ้นกับประชากรที่ศึกษา เรียกว่า การวิจัยเชิงสังเกต (Observational Study Design)

  2. รูปแบบการวิจัยที่ผู็วิจัยให้ปัจจัย และมีการวัดผลที่เกิดขึ้นจากปัจจัยนั้น เรียกว่ารูปแบบ การวิจัยเชิงทดลอง (Experimantal Study Design)


4. แบ่งตามเกณฑ์มิติของเวลา

  1. รูปแบบการวิจัยที่กระทำโดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่แล้วในอดีต เรียกว่า รูปแบบการวิจัยเชิงศึกษาย้อนหลัง (Retrospective Study Design)

  2. รูปแบบการวิจัยที่กระทำโดยอาศัยข้อมูลที่เก็บตั้งแต่ปัจจุบันต่อไปในอนาคต เรียกว่า รูปแบบการวิจัยเชิงศึกษาไปข้างหน้า (Prospective Study Design)

  3. รูปแบบการวิจัยที่กระทำโดยอาศัยข้อมูล ณ จุดหนึ่งของเวลา หรือระยะเวลาหนึ่ง เรียกว่า รูปแบบการวิจัยแบบตัดขวาง (Cross Sectional Study Design)

  4. รูปแบบการวิจัยที่กระทำโดยอาศัยข้อมูลระยะยาวของเวลา เรียกว่า รูปแบบการวิจัยในระยะยาว (Longtitudinal Study Design)


5. การออกแบบการวัดค่าตัวแปร (Measurement Design)

เป็นการกำหนดวิธีการวัดค่าหรือการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปรโดยมีลำดับขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้

  1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการวัดค่าตัวแปร

  2. กำหนดโครงสร้าง และคำนิยามของค่าตัวแปรแต่ละตัวที่ต้องการวัดให้ชัดเจน

  3. กำหนดระดับการวัดของข้อมูล และสร้างการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปร

  4. ตรวจสอบคุณภาพ จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปร ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง (Validity) และค่าความเชื่อมั่น (Reliability)

  5. กำหนดวิธีการและขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน

  6. กำหนดรูปแบบ วิธีวัดค่าตัวแปร หรือการควบคุมตัวแปรเกินโดยวิธ๊การสุ่ม , การนำมาเป็นตัวแปรที่ศึกษา , การจัดสถานการณ์ให้คงที่ หรือการควบคุมด้วยวิธีการทางสถิติ


6. การออกแบบการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling Assignment)

เป็นการดำเนินการเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรในการนำมาศึกษา

  1. กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่าง

  2. กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม


7. การออกแบบการวิเคราะห์ข้อมูล

เป็นการวางแผนในการดำเนินการกับข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะได้ใช้ในการตอบปัญหาการวิจัยตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. การเลือกใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive Statistics)

  2. การเลือกใช้สถิติเชิงอ้างอิง (Inferential Statistics)



จุดหมายของการออกแบบวิจัย

ในการออกแบบการวิจัย มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ

  1. เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหาการวิจัยที่ถูกต้อง ชัดเจน และมีความเที่ยงตรงน่าเชื่อถือ โดยการสร้างกรอบแนวคิดการวิจัยที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาเพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือการวิเคราะห์ข้อมูล

  2. ควบคุมความแปรปรวนของตัวแปรการวิจัยที่ศึกษา โดยใช้แนวทาง 3 ประการดังนี้ 1) ศึกษาให้มีความครอบคลุมขอบเขตของปัญหาการวิจัยให้มากที่สุด 2) ควบคุมอิทธิพลของตัวแปรที่ไม่อยู่ในขอบเขตการวิจัยแต่มีผลต่อการวิจัยให้ได้มากที่สุด 3) การลดความคลาดเคลื่อนที่จะเกิดขึ้นในการวิจัยให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด



ลักษณะของการออกแบบการวิจัยที่ดีและมีประสิทธิภาพ

  1. เป็นแนวทางการหาคำตอบของปัญหาการวิจัยได้อย่างแท้จริง

  2. สามารถควบคุมตัวแปร ทั้งตัวแปรที่ต้องการศึกษา และตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษา โดยใชวิธีการสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling) , การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง (Random Assignment) , และการสุ่มการจัดกระทำให้แก่กลุ่มตัวอย่าง (Random Treatment)

  3. ควบคุมให้เกิดความเที่ยงตรงภายในที่ผลการวิจัยได้มาจากตัวแปรสาเหตุเท่านั้น และความเที่ยงตรงภายนอกที่จะสามารถใช้ผลการวิจัยสรุปไปอ้างอิงไปสู๋ประชากรได้

  4. ปราศจากอคติ

  5. ปราศจากความสับสน






Illustration By Arnon Chundhitisakul





11,393 views
bottom of page