top of page
  • Writer's pictureTSIS

การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูป

By TSIS Team

นับถอยหลังอีกเพียงไม่กี่วันก็จะเปิดภาคเรียนกันแล้ว ความรู้วิจัยที่เรียนมาปลิวหายไปหมดยัง ? มาลองทบทวนกันสักหน่อย สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะได้เริ่มเรียนวิชาวิจัยเชิงปริมาณ วันนี้ TSIS จะมาแนะนำการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane และ Krejcie Morgan


เหตุผลที่เราต้องมีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากเวลาทำวิจัยหรือโครงการ นักวิจัยจะประสบปัญหาเรื่องเวลา งบประมาณและทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด ด้วยเหตุนี้การสุ่มตัวอย่างจากประชากรจึงมีความจำเป็น เพื่อให้เป็นตัวแทนของประชากรที่ต้องการศึกษา


ก่อนที่จะไปทำความรู้จักสูตรกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เรามาเรียนรู้คำศัพท์เบื้องต้นในการหากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่

  1. ประชากร (Population) คือ สมาชิกทุกหน่วยของสิ่งที่สนใจศึกษาวิจัย

  2. กลุ่มตัวอย่าง (Sample) คือ ส่วนหนึ่งของประชากรที่นำมาเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรทั้งหมด จึงต้องมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถอ้างอิงไปยังประชากรได้อย่างน่าเชื่อถือ

  3. การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) คือ กระบวนการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรทั้งหมดได้


สูตรคำนวณของ Taro Yamane

ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane เป็นตารางที่ใช้หาขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อประมาณค่าสัดส่วนของประชากรโดยคาดว่าสัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากรเท่ากับ 0.5 และระดับความเชื่อมั่น 95% ดังตาราง โดยวิธีการอ่านตารางผู้วิจัยจะต้องทราบขนาดของประชากรและกำหนดระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้


เงื่อนไขในการใช้สูตร

  1. ใช้สำหรับการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เท่านั้น

  2. ใช้สำหรับงานวิจัยเชิงสำรวจที่เกี่ยวข้องกับค่าสัดส่วนเท่านั้น ตัวแปรต้องตอบแค่ 0,1 เช่น ใช่ ไม่ใช่ หรือ ชอบ กับ ไม่ชอบ หรือ ชาย กับ หญิง

  3. ใช้สำหรับงานวิจัยที่ทราบจำนวนประชากรเท่านั้น

  4. แผนการเลือกตัวอย่างต้องเป็นแบบ Simple random sampling เท่านั้น

สูตรคำนวณของ Krejcie & Morgan

ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan ใช้ในการประมาณค่าสัดส่วนของประชากรและกำหนดให้สัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากร เท่ากับ 0.5 ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความเชื่อมั่น 95%


สามารถคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างกับประชากรที่มีขนาดเล็กได้ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป โดยผู้วิจัยต้องทราบขนาดของประชากรก่อน


Illustration by Arnon Chundhitisakul

 

74,188 views
bottom of page