top of page
  • Writer's pictureTSIS

ประเภทของการสุ่มตัวอย่าง EP 1

by The TSIS

กลุ่มตัวอย่าง (Sample) คือ ส่วนหนึ่งของประชากรที่นำมาเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรทั้งหมด จึงต้องมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถอ้างอิงไปยังประชากรได้อย่างน่าเชื่อถือ


การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) คือกระบวนการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรทั้งหมด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) Nonprobability sampling และ (2) Probability sampling (แต่ในครั้งนี้ ขอนำเสนอข้อมูลกลุ่มการสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็นก่อน และครั้งต่อไปฝากติดตามอีกหนึ่งรูปแบบ)


เหตุผลที่ต้องมีการสุ่มตัวอย่างในงานวิจัย เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านเวลา งบประมาณ และทรัพยากรอื่น ๆ ที่มีอย่างจำกัด จึงไม่สามารถเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมดได้ ส่งผลให้การสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มประชากรจึงจำเป็น เพื่อให้เป็นตัวแทนของประชากรที่ต้องการศึกษา


การสุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น ( Probability sampling ) คือ การสุ่มที่ทราบจำนวนประชากรทั้งหมด โดยประชากรทั้งหมดจะมีโอกาสที่จะถูกสุ่มมาเป็นกลุ่มตัวอย่างเท่าเทียมกัน เทคนิควิธีสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็นมี 5 วิธี ได้แก่


1. Simple Random Sampling (การสุ่มอย่างง่าย)



คือ การสุ่มที่ให้โอกาสกับทุกหน่วยตัวอย่างในการถูกเลือกเท่า ๆ กัน ใช้วิธีการไม่ซับซ้อน วิธีการอาจใช้วิธีการจับสลากโดยทำรายชื่อประชากรทั้งหมด หรือใช้ตารางเลขสุ่มโดยมีเลขกำกับหน่วยรายชื่อทั้งหมดของประชากร


2. Systematic Sampling (การสุ่มอย่างเป็นระบบ)

คือ การสุ่มหน่วยตัวอย่างแรกขึ้นมาก่อน จากนั้นกำหนดช่วงห่างของการเลือกตัวอย่าง อย่างละเท่า ๆ กัน ด้วยการคำนวณ “ตัววิ่ง” (Running Number)


3. Stratified Sampling (การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งพวก)

คือ การสุ่มเลือกตัวแทนจาก “ทุกพวก”เนื่องจากแต่ละพวกมีความแตกต่างกัน วิธีการเริ่มจากแยกประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อยๆ หรือแบ่งเป็นชั้นภูมิก่อน โดยหน่วยประชากรในแต่ละชั้นภูมิจะมีลักษณะเหมือนกัน (homogenious) แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากร


4. Cluster Sampling (การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม)

คือ เป็นการสุ่มเลือกตัวแทนจาก “กลุ่ม”เนื่องจากแต่ละกลุ่มมีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกัน หรือมีคุณลักษณะร่วมอยู่ อาจเริ่มแบ่งพื้นที่จากภาค เป็นจังหวัด จาก จังหวัดเป็นอำเภอ และเรื่อยไปจนถึงหมู่บ้าน


5. Multi Stage Sampling (การสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน)

คือ การสุ่มแบบหลายขั้นตอน จะใช้ในกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณมาก มีการพิจารณาใช้เทคนิคการสุ่มกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยความน่าจะเป็นอื่น ๆ เข้ามาในกระบวนการ


Illustration by Piyanat Chasi

 

32,993 views0 comments

Comentarios


bottom of page