By Setthaphong Matangka
การรับน้องใหม่ถือเป็นประเพณีที่นักศึกษาในแต่ละมหาวิทยาลัยทำการต้อนรับน้องใหม่ที่กำลังเข้ารับการศึกษาในปริญญาตรี โดยให้ความช่วยเหลือและจัดการต้อนรับอย่างอบอุ่น แต่นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งมีการต้อนรับน้องใหม่โดยวิธีการบังคับขู่เข็ญที่ได้รับการปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่นโดยนักศึกษารุ่นพี่ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เป็นความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบโซตัส (SOTUS)
ข่าวการรับน้องใหม่มักถูกหยิบยกมาพูดถึงเป็นประจำทุกปีในช่วงเปิดภาคเรียนแรกของปีการศึกษา ล่าสุดที่เป็นที่พูดถึงในสื่อสังคมออนไลนคือ ‘กฎจากรุ่นพี่ถึงน้องปี 1’ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งถูกเผยแพร่โดยเฟซบุ๊กเพจ ‘รับน้องสร้างสรรค์ระดับมหากาฬ’
(โพสต์ต้นทาง: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3245828302169155&id=1453177961434207)
ระบบโซตัส (SOTUS)
“ความจริงระบบ Seniority (อาวุโส) มันก็ดีแต่ความดีมันต้องมีกาลเทศะ หมายความว่าคนที่จะใช้ต้องรู้จักเทคนิคพอสมควร คุณค่าความดีไม่มีสูญ ไม่มีหาย แต่ความดีจะสูญหายไปได้เพราะคนที่เอาความดีมาใช้ไม่รู้จักเลยว่าความดีนั้นคืออะไร” (สุจิตต์ วงษ์เทศ น.41)
จากคำกล่าวข้างต้นสามารถบ่งบอกได้ถึงความเข้าใจเกี่ยวกับระบบโซตัส (SOTUS) ของคนส่วนใหญ่ที่เข้าใจอย่างผิด ๆ และนำไปปรับใช้โดยไม่ไม่มีความเข้าใจที่แท้จริง
ระบบโซตัส (SOTUS) จริง ๆ คือ “คำขวัญ” ไม่ใช่ “หลักการ” การที่คนเชื่อเช่นนี้เพราะไม่รู้ประวัติความเป็นมา และจุดประสงค์ที่แท้จริงของระบบโซตัส การว๊ากในต่างประเทศมีจุดประสงค์เพื่อทดสอบกำลังใจของคนที่จะเข้าชมรม แต่ความรุนแรงดังกล่าวติดตัวมากับระบบนี้หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ความจริง คือ “การว๊าก” กับ “ระบบโซตัส” เป็นคนละเรื่องกัน
ความหมายของ SOTUS ถูกแบ่งออกเป็นตัวอักษรทั้ง 5 ได้แก่
S ย่อมาจาก คำว่า Seniority คือ ต้องการให้นักศึกษารุ่นน้องเคารพอาจารย์และนักศึกษารุ่นพี่
O ย่อมาจาก คำว่า Order คือ ต้องการให้นักศึกษารุ่นน้องเชื่อฟังคำสั่ง มีระเบียบวินัย
T ย่อมาจาก Tradition คือ ต้องการให้มีการรักษาเฉพาะประเพณีที่ดีงานและเหมาะสมไว้
U ย่อมาจาก คำว่า Unity คือ ต้องการให้นักศึกษารักษาความสามัคคีระหว่างนักศึกษา
S ย่อมาจาก คำว่า Spirit คือ มีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรมจริยธรรม มีการเสียสละเพื่อส่วนรวม
ในประเทศไทยพบว่า มีการนำระบบโซตัสเข้ามาในช่วงสงครามเย็นหรือประมาณทศวรรษ 2480 อยู่ในช่วงที่เรามีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ดังนั้นเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางด้านวิชาการทำให้มีการส่งนักเรียนไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยออเรกอนและมหาวิทยาลัยคอร์แนลล์)
เมื่อกลุ่มนักเรียนที่ส่งไปเรียนจบการศึกษากลับมา ไม่ได้รับเพียงแค่ความรู้ทางวิชาการกลับมา
อย่างเดียว แต่มาพร้อมกับความคิดในการรับน้องใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วยระบบการว๊าก (การกดดันทางจิตวิทยา) และการลงโทษ (การทรมานทางร่างกาย) โดยสถาบันแห่งแรกที่มีการนำโซตัสรูปแบบใหม่มาใช้นั้น คือ “โรงเรียนป่าไม้แพร่” ที่มีการผลิตนักเรียนเพื่อเข้าเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเวลาต่อมาโรงเรียนป่าไม้แพร่ พัฒนากลายเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีควาเมป็นไปได้ว่าในช่วงเวลานี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้นำคำว่า “โซตัส” เข้ามา
ว่าด้วยความสำคัญของปัญหาระบบโซตัส (SOTUS)
ถึงแม้ปัญหาของการรับน้องจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเหมือนเป็นเทศกาลประจำในช่วงเปิดปีการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในทุก ๆ ปี แต่มีกลุ่มคนที่มองว่า การรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ภายใต้ระบบโซตัสเป็นกิจกรรมที่มีความสําคัญในการพัฒนานักศึกษา ดังที่วิจิตร ศรีสอาน (2529:7) และพจน์ สะเพียรชัย (2535:15) มีความเห็นสอดคล้องกันว่า
“การรับน้องใหม่และประชุมเชียร์เป็นวัฒนธรรมประเพณีของชาวมหาวิทยาลัยที่ถ่ายทอดความสัมพันธ์ของรุ่นพี่ชาวมหาวิทยาลัยไปยังน้องใหม่ เพื่อให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจในสถาบันของตน รวมทั้งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งมีผลทําให้เกิดความสามัคคี การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”
บทความชิ้นนี้สนใจศึกษาการสร้างอัตลักษณ์และการให้ความหมายต่อระบบโซตัสภายใต้สถาบันการศึกษาของสังคมไทย เพื่อทำความเข้าใจความหมายของระบบโซตัสและการนำมาปรับใช้ในสถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งศึกษาการตีความหมายและความเข้าใจของนิสิต นักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อระบบโซตัส
หนุ่มหน่ายคัมภีร์: ภาพสะท้อนอำนาจในสังคมไทย
“หนุ่มหน่ายคัมภีร์” ถูกแต่งขึ้นโดยนายสุจิตต์ วงษ์เทศ เนื้อหาในหนังสือสะท้อนภาพอำนาจในสังคมไทยภายใต้สถาบันอุดมศึกษาที่เสียดสีระบบ Senority ที่อยู่ภายใต้วัฒนธรรมของระบบโซตัสที่รุ่นน้องจะต้องถูกรุ่นพี่ใช้อำนาจในการควบคุมอย่างแท้จริง ทำให้เห็นว่าลึก ๆ แล้วการรับน้องเป็นเรื่องของโครงสร้างทางสังคมที่เน้นเรื่องลำดับขั้นว่า ผู้อาวุโสกว่าย่อมสูงส่งกว่าผู้อื่นโดยไม่ต้องมีคำอธิบายใด ๆ ด้วยเหตุนี้เองในสถาบันอุดมศึกษาที่มีการใช้ระบบโซตัส รุ่นพี่จึงมีความถูกต้องเสมอและรุ่นน้องต้องเชื่อฟังอย่างไร้ข้อกังขา
กล่าวโดยสรุปแล้วเนื้อหาภายในหนังสือถูกดำเนินผ่านตัวละครที่ชื่อว่า “นายทองปน” มองภายนอกดูเป็นคนที่สนุกสนานออกไปทางกวนนิด ๆ ภายใต้ท่าทางที่แสนตลกนั้นกลับซ้อนไปด้วยพลังแห่งการต่อต้านที่มีต่อระบบผู้อาวุโส(Seniority) ที่เป็นประเพณีสืบทอดภายในมหาวิทยาลัยของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน
กล่าวโดยสรุปแล้วเนื้อหาภายในหนังสือถูกดำเนินผ่านตัวละครที่ชื่อว่า “นายทองปน” มองภายนอกดูเป็นคนที่สนุกสนานออกไปทางกวนนิด ๆ ภายใต้ท่าทางที่แสนตลกนั้นกลับซ้อนไปด้วยพลังแห่งการต่อต้านที่มีต่อระบบผู้อาวุโส(Seniority) ที่เป็นประเพณีสืบทอดภายในมหาวิทยาลัยของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน
ด้วยความที่ไม่เห็นด้วยกับการมีอยู่ของระบบดังกล่าว ทำให้นายทองปนและนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลายคนแสดงออกถึงการต่อต้านและไม่ยอมรับวัฒนธรรมของผู้อาวุโสที่รุ่นพี่ทั้งหลายศรัทธาจนเกิดเหตุการณ์มากมาย นายทองปนจึงถือเป็นตัวแทนของภาพสะท้อนอำนาจในสังคมไทยภายใต้สถาบันอุดมศึกษาที่เสียดสีระบบ Seniority อย่างแท้จริง
ความเหมือน - อัตลักษณ์ และความแตกต่างในทางการเมือง
จากเนื้อหาภายในหนังสือ หากนำมาวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับทฤษฏีความเหมือน - อัตลักษณ์ และความแตกต่างในทางการเมืองของธเนศ วงศ์ยานนาวา พบว่า
“ความเป็นพี่น้อง” ในภาษาโซตัส ความหมายแรก ๆ ที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มคนที่เห็นด้วยกับการมีอยู่ของวัฒนธรรมดังกล่าว คงหนีไม่พ้นคำว่า “รุ่นพี่ - รุ่นน้อง” ที่มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ในความหมายที่ผู้เป็นพี่คอยดูแลน้อง ๆ ให้ต่อสู้และเตรียมรับมือก่อนที่จะออกไปสู่สังคมนอกรั้วมหาวิทยาลัย ส่วนน้อง ๆ ที่ได้รับการดูแล ในตอนแรกก็คงไม่เข้าใจว่าเหตุใดทำไมรุ่นพี่จึงทำเช่นนี้ แต่เมื่อถึงเวลาก็จะเข้าใจและดำเนินตามรอยรุ่นพี่
แท้จริงแล้วความเป็นพี่น้องในอุดมคติที่กล่าวไปข้างต้นนั้นไม่มีจริง เพราะ “ความเป็นพี่น้องในระบบโซตัส” วางอยู่บนโครงสร้างเชิงอำนาจของตัวระบบโซตัสเองต่างหาก เพราะความเป็นพี่น้องที่แท้ไม่ได้วางอยู่บนเงื่อนไขที่คนเป็นพี่จะสามารถสั่งให้น้องซ้ายหันขวาหัน หรือด่าท่อน้องเมื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งต่างจากความสัมพันธ์ของระบบพี่น้องในครอบครัวที่ไม่ได้มีระเบียบปฏิบัติอะไรที่เหมือนกับระบบโซตัส
พี่น้องในความหมายของครอบครัวล้วนมีความเท่าเทียม สนิทสนมกัน เห็นได้จากภาษาที่พูดคุย อาทิ กู-มึง ฯลฯ ในขณะที่พี่น้องในระบบโซตัสมีลักษณะของความเป็นเจ้านายกับลูกน้อง ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นไม่มีสิทธิที่จะทำแบบนี้ได้
“รุ่นพี่ทำทุกสิ่งทุกอย่างลงไปด้วยความรักและความเมตตา ด้วยความปรารถนาที่จะให้น้องใหม่รู้สึกว่านี้เป็นการต้องรับจากรุ่นพี่ รุ่นพี่ต้องการทดสอบสปิริตน้องใหม่ว่ามีความสามัคคี เคารพเชื่อฟังรุ่นพี่ขนาดไหน สังคมใดปราศจากการเคารพเชื่อฟัง สังคมนั้นย่อมมีความวุ่นวาย การที่รุ่นน้องไม่เคารพจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในสังคมไทย” (น.148)
“การเมืองของอัตลักษณ์ (Political of Identity)” หรือที่ในระบบโซตัสจะมีวิธีการเรียกว่า “การละลายพฤติกรรม” ด้วยข้ออ้างที่ว่าคนที่มาเรียนในมหาวิทยาลัยมาจากหลายหลายครอบครัว
ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่างทำให้ต้องมีการละลายพฤติกรรม ทำให้รวมกันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และเตรียมพร้อมน้อง ๆ ให้สามารถออกไปรับมือกับโลกแห่งความเป็นจริง
หากมองตามความจริง ในสังคมต่าง ๆ ล้วนมีความแตกต่างที่หลากหลาย แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ต้องมีการละลายพฤติกรรม การเมืองของอัตลักษณ์จึงเป็นสิ่งที่สร้างความเหมือนขึ้นมา เพราะอัตลักษณ์ก็คือความเหมือนรูปแบบหนึ่งในทางวิธีคิด มุมมองหรืออุดมการณ์บางอย่าง ถ้าในแง่ของระบบโซตัสก็คือ การเป็นประเพณีที่สืบทอดต่อกันมา
“นายจะมาฝืนเขาได้อย่างไร ประเพณีการรับน้องใหม่เขาทำสืบทอดกันมาเป็นสิบ ๆ ปี นายมาถึงจะมาเขี่ยวัฒนธรรมของเขาให้กระเด็นออกไป มันถูกหรือไม่ ?" (น.199)
อัตลักษณ์ หรือความเหมือนนี้จึงเป็นการสร้างตัวตนของบุคคล หรือกลุ่มคนขึ้นมาไม่ใช่แค่การบ่งบอกถึงพวกพ้อง แต่มันคือการสร้างลักษณะเฉพาะขึ้นมาเพื่อแยกพวกเราออกจากลุ่มต่าง ๆ ทางสังคม หรือเป็นการสร้างตัวตนขึ้นมาในสังคม ซึ่งเป็นการสร้างตัวตนให้กับกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าเป็น “รุ่นพี่” เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกลายเป็นคนอื่นในสังคมน้อง ๆ หรือเหล่าน้องปีหนึ่งทั้งหลาย
“พวกผมต่างหากที่เป็นผู้ให้ความอาวุโสของพี่ ถ้าพวกผมไม่ให้พี่ก็จะมีความอาวุโสไม่ได้โดยเลือดเนื้อเชื้อไข” (น.204)
“คนมันจะเคารพกัน ไม่ต้องไปบังคับหรอกมันก็เคารพกันได้ ไม่เคารพกันด้วยอาวุโส ก็เคารพกันด้วยสติปัญญาความคิดความอ่าน” (น.76)
ความสัมพันธ์เบื้องลึกของโซตัสกับการเมืองไทย
จากบทความ “โซตัส: เมล็ดพันธุ์อุดมการณ์อำนาจนิยมที่ตกค้างในสังคมไทย” ของอาจารย์วันรัก สุวรรณวัฒนา เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับบริบททางการเมืองของไทยพบว่า ในยุคที่มีระบบโซตัสอย่างจริงจังในมหาวิทยาลัยไทยนั้น เรากำลังอยู่ในยุค “รัฐนิยม” ที่มาพร้อมกับการปลูกฝังลัทธิชาตินิยมให้แก่เยาวชนและราษฎรไทย แนวคิดและรูปแบบของการปกครองดังกล่าวที่ถูกหยิบมาใช้ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ โดยมีจุดประสงค์ในการสร้างอุดมการณ์ตามอุดมคติของรัฐเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการสร้างชาติ
“การรับน้อง” จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบอบเผด็จการที่แพร่ขยายออกมาข้างนอก เป็นส่วนหนึ่งของความคิดอำนาจนิยมที่อยู่ในสังคมไทยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และมักจะดำเนินควบคู่ไปกับระบบการเมืองในสังคมไทย ช่วงไหนที่มีความเป็นเผด็จการมาก การรับน้องก็จะมีการใช้อำนาจมากตามไปด้วย ช่วงไหนที่ประชาธิปไตยถูกปลุกขึ้นมาเพื่อต่อต้านอำนาจเผด็จการทหารโดยเฉพาะในกลุ่มนิสิตนักศึกษา ประเพณีและวิถีปฏิบัติหลาย ๆ อย่างในระบบโซตัสจึงถูกตั้งคำถามอย่างในช่วงปี พ.ศ. 2516 - 2519 หรือในยุคที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน
“การรับน้อง” และ “ห้องประชุมเชียร์” จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถูกตั้งคำถามในฐานะกระบวนการปลูกฝังคนหนุ่มสาวให้อยู่ในสภาพละเลยสิทธิเสรีภาพทางการเมือง จนมีการยกเลิกการรับน้องในมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่ง
หลังความพ่ายแพ้ของขบวนการนักศึกษาในปี พ.ศ. 2519 ชัยชนะของเผด็จการทหารที่ทำลายขบวนการนักศึกษา หรือที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ทำให้เผด็จการทหารออกนโยบายการศึกษา นโยบายทางวัฒนธรรมที่ปลูกฝังค่านิยมชนชั้นในการเชื่อฟังผู้มีอำนาจ รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ผ่านสื่อและสถาบันต่าง ๆ การรับน้องภายใต้ระบบโซตัสจึงถูกกลับมาใช้อีกครั้งในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน พร้อมกับจิตสำนึกทางสังคมต่อการต่อต้านการมีอยู่ของระบบโซตัสของนักศึกษาที่หายไป
‘ว๊าก’ กับ ‘ระบบโซตัส’
“…พอสังคมเปลี่ยนไป อย่างเรื่องห้ามการว๊ากน้อง ก็เลยไม่มีห้องมืด แต่จริง ๆ แล้ว โซตัสก็คือการรักษาระเบียบ ก็เลยจะเน้นไปในทางระเบียบมากกว่า ส่วนห้องมืดที่มีเพื่อให้ความรู้สึกของน้อง ๆ ที่เข้ามาใหม่ดาวน์ลง เพื่อที่จะเข้าสู่ระบบ หรือมีการจัดระเบียบได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งนี่คือประโยชน์ของห้องมืด แต่พอเมื่อไม่มีห้องมืดแล้ว ก็จะเน้นไปในทางรักษาระเบียบมากกว่า เช่น การแต่งกาย…” พี่มหา (สัมภาษณ์, 28 ตุลาคม 2560)
“การว๊าก” คือการสร้างบรรยากาศของความกดดันและความหวาดกลัวทางจิตวิทยา ด้วยกระบวนการทำให้เกิด “ความรู้สึกผิด (emotional guilt)” ผ่านการใช้ชุดคำแบบแผนสำเร็จรูปชุดหนึ่งซ้ำไปมา โดยกลุ่มคนซึ่งสถาปนาตนเองเป็น “รุ่นพี่” บนฐานข้ออ้างเรื่องความอาวุโสเป็นผู้บังคับใช้คำสั่งและการลงโทษ ในฐานะเครื่องมือละลายพฤติกรรม โดยทั้งหมดนี้มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างกลุ่มรุ่นน้องที่เชื่อฟังอย่างมีระเบียบวินัย มีความเป็นหนึ่งเดียว และมีความรักเทิดทูนและภูมิใจในสถาบันของตน ทั้งหมดนี้ เรียกกันทั่วไปว่า กระบวนการสืบทอดส่งต่อประเพณีรับน้องใหม่ (พัชณีย์ คำหนัก, 2554)
บทสรุป
การเดินทางของระบบโซตัสเพื่อฝังรากในวัฒนธรรมไทย จาก “อุดมคติทางจริยธรรม” ในยุคแรกเริ่มพัฒนาสยามประเทศ ระบบโซตัสได้อวตารมาเป็น “อุดมการณ์โซตัส” อันเข้มเข็งและแข็งทื่อในยุครัฐนิยมและยุคเผด็จการทหาร และได้สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองอีกครั้งหลังความพ่ายแพ้ของขบวนการนักศึกษาหัวก้าวหน้า
ในยุคที่สังคมไทยเรียกร้องความเท่าเทียม ประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก อุดมการณ์โซตัสกลับผลิตซ้ำวิธีคิดและวิถีปฏิบัติของยุคเผด็จการ อันมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างความซาบซึ้งกับจารีตนิยมอย่างปราศจากการถกเถียงด้วยเหตุด้วยผลและการผูกขาดการตีความรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกกับสถาบัน (ในที่นี้ คือสถาบันการศึกษาและสถาบันอาวุโส) ให้มีลักษณะแข็งทื่อไร้พลวัต โดยโจมตีกลุ่มคนที่เห็นต่างว่าเป็นพวกบ่อนทำลาย “เจตนารมณ์” และ “ประเพณีอันเก่าแก่” หรือเป็นพวก “ร้อนวิชาสิทธิมนุษยชน” หรือ “ทำลายชื่อเสียงสถาบัน”
ท้ายที่สุด ประเพณีนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อปรัชญาพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยอย่างไม่สามารถประนีประนอมได้ เพราะระบบโซตัสเป็นกลไกหลักของการครอบงำเชิงวัฒนธรรมและเป็นเมล็ดพันธุ์ของ “อุดมการณ์อำนาจนิยม” ที่ตกค้างอยู่ในระดับจิตใต้สำนึกและความคิดของผู้คน อันเป็นต้นตอสำคัญของปัญหาการเมืองที่นำไปสู่การสังหารหมู่เมื่อพฤษภาคม 2553 (อ.วันรัก สุวรรณวัฒนา, 2554)
รายการอ้างอิง
เอกสารภาษาไทย
ไตรถิกา นุ่นเลี้ยง. 2557. ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบและผลกระทบของการจัดกิจกรรมการรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลับสงขลานครินทร์.
ทัฬหทัย ศรีดาพันธ์. 2550. การรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ : กรณีศึกษานิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. 2512. หนุ่มหน่ายคัมภีร์. กรุงเทพฯ : ประพันธ์สาส์น.
เอกสารออนไลน์
กฤดิกร วงศ์สว่างพาณิชย์. 2560. ‘ความเป็นพี่น้อง’ ในวัฒนธรรมโซตัส. The matter. https://thematter.co/thinkers/politics-of-identity-in-sotus-culture/29812 (สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560).
ชานันท์ ยอดหงษ์. 2560. ความรักความสามัคคีและรับน้องใหม่?. The matter. https://thematter.co/thinkers/sotus-the-series/35699 (สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560).
ธเนศ วงศ์ยานนาวา. 2542. “ท่อง” ไปในแดนโพสต์โมเดิร์น : ความเหมือน/อัตลักษณ์และความแตกต่างในทางการเมือง. http://www.academia.edu/26483479/ (สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2560).
พงษ์เมธี ไชยสีหา. 2555. ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict theory). Ipernity. http://www.ipernity.com/blog/252172/424348 (สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2560).
พัชณีย์ คำหนัก. 2554. การใช้อำนาจข่มเหงเสรีภาพของคนหนุ่มสาว. ประชาไท. https://prachatai.com/journal/2011/06/35384 (สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560).
พนัสดา อุทัยพิพัฒนากุล. 2559. รับน้องไงทำไมต้องว้าก #1: ฟังเสียงอดีตพี่ว้าก ทำไมเขาถึงเปลี่ยน?. ประชาไท. https://prachatai.com/journal/2016/07/67137 (สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2560).
วันรัก สุวรรณวัฒนา. 2554. โซตัส : เมล็ดพันธุ์อุดมการณ์อำนาจนิยมที่ตกค้างในสังคมไทย. ประชาไท. https://prachatai.com/journal/2011/06/35724 (สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560).
Illustration by Arnon Chundhitisakul
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPTU Machine ETPU Moulding…
EPS Machine EPS Block…
EPS Machine EPS Block…
EPS Machine EPS Block…
AEON MINING AEON MINING
AEON MINING AEON MINING
KSD Miner KSD Miner
KSD Miner KSD Miner
BCH Miner BCH Miner
BCH Miner BCH Miner