top of page
Writer's pictureTSIS

How To ป้องกันตนเอง และสิ่งที่ควรทำ หากได้รับแก๊สน้ำตา

By Pongsamut Srisopar


ในช่วงเดือนที่ผ่านประเทศไทยมีการเคลื่อนไหวทางสังคมหลายครั้ง เพื่อประท้วงการบริหารประเทศ ของรัฐบาล อย่างไรก็ตามท่ามกลางภาวะวิกฤตอย่างการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทำให้การต่อสู้ตามสิทธิ ขั้นพื้นที่ฐานที่ประชาชนพึงมีนั้นไม่ได้ทำได้ง่าย ๆ ในบทความที่แล้วได้พูดถึงบทบาทของการระบาดไวรัสโควิด 19 ต่อการประท้วงในหลายประเทศว่าอาจไม่มีผลในการแพร่ระบาดแต่อย่างใด ในบทความนี้ผู้เขียนนำเสนอ ข้อจำกัด และวิธีการป้องกันตัวจากการพยายามควบคุมฝูงชนของหน่วยงานรัฐ


การพยายามควบคุม หรือการสลายการชุมนุม หรือในอีกคำหนึ่งที่มักได้ยินบ่อย ๆ คือ “การควบคุมฝูงชน” (Riot Control) ทุกครั้งที่ได้คำเหล่านี้ชวนคิดไม่ได้ถ้าเรายืนอยู่ตรงนั้นเราต้องพบกับอะไรบ้าง จากข้อมูลของตามแพลตฟอร์ม Social Network ต่าง ๆ อาทิ“ทวิตเตอร์” และ “เฟสบุ๊ค” ณ ตอนนี้เริ่มมีการพูดถึงการ ป้องกันตัวเอง การเอาตัวรอดจากอาวุธที่อาจจะพบได้ในสถานการณ์การสลายการชุมนุม น่าแปลกใจว่า ข้อมูลของหน่วยงานรัฐหลาย ๆ ที่ ยกตัวอย่าง ข้อมูลของเว็ปไซต์กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธร ภาค 2 1 ไม่ได้มีระบุว่าเจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุมโดยใช้อาวุธ หรืออุปกรณ์อะไรบ้าง ทั้งชนิด ประเภท หรือ อื่น ๆ มีเพียงคำกล่าวตามหลักการที่ดูเหมือนจริงจังแต่ก็เลื่อนลอยและเข้าใจยาก


ผู้เขียน ในฐานะที่เป็นอดีตนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาฟิสิกส์วัสดุศาสตร์มองเห็นความสำคัญของการทำความเข้าใจวิธีการป้องกันตัวเองและปฐมพยาบาลเมื่อเกิดเหตุการสลายการชุมนุมขึ้น จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันตัวเองเบื้องต้นหากเกิดการกลายการชุมชน โดยมุ่งไปในหัวข้อ “การเอาตัวรอดจากแก๊สน้ำตา” เริ่มต้นจากข้อควรรู้เกี่ยวกับแก๊สน้ำตา ดังนี้



แก๊สน้ำตา (Tear Gas)

“แก๊สน้ำตา” มีหลายชื่อในภาษาอังกฤษ ถ้าแปลตรงตัวคือ Tear Gas หรือบางครั้งจะใช้คำว่า lachrymator agent อ่านว่า “ลา-คี-เม-เตอร์-เอ-เจ้นท์” หรือ lachrymator ซึ่งในภาษาละตินคำว่า lacrima แปลว่า "tear" / “น้ำตา”


“แก๊สน้ำตา” เป็น “Chemical Weapon” หรือ “อาวุธเคมี” ซึ่งอาวุธในทีนี้หมายความว่าสามารถใช้ ทำร้ายหรือฆ่าเราตายได้



องค์ประกอบทางเคมีของแก๊สน้ำตา

องค์ประกอบทางเคมีของแก๊สน้ำตา นั่นจะทำให้ ผู้คน/เหยื่อ/ผู้ได้รับสารนั้น เกิดอาการระคายเคืองที่ บริเวณดวงตา ปาก คอ (ระบบทางเดินอาหาร) ปอด (ระบบทางเดินหายใจ) และผิวหนังได้


สารเคมีที่นำมา ใช้เป็นสารเคมีตั้งต้นที่ใช้ในการใช้ผลิตแก๊สน้ำตา มีมากกว่า 40 ชนิด (ทั้งที่ใช้และเลิก ใช้ไปแล้ว) และในบางพื้นที่ หรือบางประเทศมีการแอบผลิตเองอย่างผิดกฎหมายด้วย


สารตั้งต้นเพื่อใช้ผลิตแก๊สน้ำตาโดยส่วนมากปรากฏในสถานะของเหลว หรือบางครั้งผลึกของแข็งที่มีขนาดเล็กและละเอียดมาก ๆ สารตั้งต้นจะถูกผสมกับสารที่เร่งให้เกิดควันหรือไอ และบรรจุในอาวุธโดยรูปแบบของอาวุธก็มีหลากหลาย ทั้งยิงแบบกระสุน ระเบิดมือแบบเขวี้ยง แบบแผนกับดัก เป็นต้น


สารเคมีตั้งต้นที่ใช้ในการใช้ผลิตแก๊สน้ำตา

  1. 1- chloroacetophenone (CN)

  2. 2-chlorobenzalmalononitrile (CS)

  3. Dibenzoxazepine (CR)

  4. chloropicrin (PS)

  5. bromobenzyl cyanide (CA)

  6. pelargonic acid vallinylamide (PAV)

  7. oleoresin capsicum (OC or ‘pepper spray’)

หมายเหตุ: แก๊สน้ำตาบางชนิดที่บรรจุลงอาวุธอาจผสมสารตั้งต้นมากกว่า 2 ชนิด และบางชนิดอาจจะผสมสารที่ทำให้เกิดควันมากขึ้น เพื่อสร้างความเสียหายให้กับเป้าหมาย


สารเคมีตั้งต้นดังกล่าวออกฤทธิ์แตกต่างกัน และความรุนแรงแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปริมาณของสารเคมีและวิธีการใช้


ข้อมูลจาก National Center for Environmental Health (NCEH) บอกว่า สารเคมีตั้งต้นที่ใช้ในการใช้ผลิตแก๊สน้ำตาที่นิยมใช้มาก มี 2 ชนิดคือ (1) 1- chloroacetophenone (CN) และ (2) 2-chlorobenzalmalononitrile (CS) ((NCEH), 2018)



การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตา

การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตาไม่ได้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ดวงตา/ต่อมน้ำตาเท่านั้น อวัยวะอื่น ๆ สามารถ ได้รับความเสียหาย/ได้รับบาดเจ็บได้เช่นกัน


อาการ/การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตา หากสัมผัสกับแก๊สน้ำตาที่สามารถสังเกตได้ทันทีเมื่อได้รับแก๊สน้ำตาโดยตรงจะส่งผลให้

  • กรณีบริเวณดวงตา จะเกิดอาการแสบตา ตาแดง น้ำตาไหล มองเห็นภาพไม่ชัด

  • กรณีระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการแสบร้อนจมูก หรือบางรายเกิดอาการบวม

  • กรณีบริเวณปากระบบย่อยอาหาร เกิดอาการแสบปาก แสบคอ กลืนลำบาก บางรายอาจเกิดอาการน้ำลายยืด แก๊สน้ำตาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการอาเจียน

  • บริเวณผิวหนัง อาจจะเกิดผื่น อาการแดงได้

กรณีที่ได้รับแก๊สน้ำตาเป็นเวลานานหรือเยอะเกินไป (Long-lasting exposure or exposure to a large dose)

  • สามารถเกิดอาการตาบอดได้ หรือหากได้รับบ่อย ๆ เป็นเวลานานอาจเกิดต้อหินได้ ซึ่งนำไปสู่การตา บอดถาวร

  • บางรายสามารถตายทันทีได้ เนื่องจากรับสารเคมีเข้าไปหลายชนิด ทำให้ทางเดินหายใจ/ปอด ให้ได้รับความเสียหายจากการกัดกร่อนจากสารเคมี และสุดท้ายทางเดินหายใจล้มเหลว

การได้รับแก๊สน้ำตามีความเสี่ยงทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวได้โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับโดยตรง หรืออยู่ในพื้นที่ปิดขณะที่มีการใช้แก๊สน้ำตา เช่น เกิดแผลเป็น เป็นต้อหิน ต้อกระจก จนไปถึงปัญหาเกี่ยวกับ การหายใจ



วิธีการป้องกันตัวเอง /สิ่งที่ต้องทำหากตัวเองได้รับแก๊สน้ำตา



  • ทันทีที่ทราบว่าตนเองโดนแก๊สน้ำตาให้ตั้งสติและออกจากพื้นที่ดังกล่าวให้ไวที่สุด

  • หาพื้นที่ที่มีอากาศโล่ง และอากาศบริสุทธิ์

  • กรณีที่แก๊สน้ำตาถูกปล่อยที่กลางแจ้ง ให้ออกจากพื้นที่นั้นทันทีและพยายามย้ายไปพื้นที่ต้นลม

  • พยายามขึ้นที่สูงเอาไว้เนื่องจาก แก๊สน้ำตาหนังกว่าอากาศมันจะลอยต่ำ ๆ

  • กรณีที่แก๊สน้ำตาถูกปล่อยในอาคาร/พื้นที่ปิด ให้รีบออกจากอาคารหรือพื้นที่นั้นทันที

  • หากมีความจำเป็นต้องชุมนุมต่อให้หาพื้นที่พัก / จุดนัดพบใหม่ที่ห่างออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงการรับแก๊สน้ำตาอีกครั้ง

  • หากคุณมั่นใจว่าคุณได้สัมผัสกับแก๊สน้ำตามาให้คุณเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที อาบน้ำล้างทั้งร่างกายก่อน แล้วไปพบแพทย์ทันที่เพื่อตรวจเช็คร่างกายว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่

  • การถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนกับแก๊สน้ำตานั้น เพื่อลดอาการระคายเคืองจากแก๊สน้ำตาซ้ำ กรณีเสื้อผ้าที่ต้องดึงผ่านศีรษะ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) แนะนำว่าให้ตัดทิ้งดีกว่าเลือกที่จะถอดผ่านศีรษะ เพื่อลดการสัมผัสกับอนุภาคของแก๊สน้ำตา

  • หากจำเป็นต้องช่วยคนอื่นถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อน ทำให้แน่ใจว่าคุณจะได้สัมผัสกับเสื้อผ้าเหล่านั้นโดยตรงเนื่องจากคุณอาจจะได้รับบาดเจ็บไปด้วย

  • การชำระล้างร่างกาย ควรล้างร่างกายทันที่ ด้วยน้ำสะอาดและควรใช้สบู่ล้าง เพื่อให้สบู่ไปจับตัวกับสารเคมีที่ระคายเคืองต่อผิวแล้วหลุดไปเร็วขึ้น

  • หากบริเวณดวงตาได้รับแก๊สน้ำตาโดยตรงควรล้างด้วยน้ำเปล่าธรรมดาที่ สะอาด ประมาณ 10 – 15 นาที

  • หากสวมคอนเทคเลนส์ ให้ถอดทิ้งทันที

  • เครื่องประดับ อื่น ๆ เช่น นาฬิกา แว่นตา สร้อย ฯลฯ หากรับการสัมผัส จากแก๊สน้ำตาเช่นกัน ให้ถอดออกแล้วล้างให้สะอาดก่อนนำกลับมาใส่

  • ทุกอย่างที่ทิ้งให้ทิ้งรวมกับเสื้อผ้าและสิ่งของที่ปนเปื้อน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสต่อ


อย่างไรก็ตามความรุนแรงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก แต่เมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่เลือกมากไม่ได้นัก เมื่อท่านอยู่ในการชุมนุมที่เริ่มมีความรุนแรงและมีการใช้อาวุธ สิ่งแรกที่ควรทำคือมีสติ ประเมินสถานการณ์ และทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองปลอดภัยก่อน เมื่อมั่นใจว่าท่านปลอดภัยแล้วท่านจึงดูแลคนอื่นต่อไป และการเตรียม ตัวเองให้พร้อมไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร

ข้อมูลส่วนใหญ่ที่นำมาให้อ่านกันมาจากบทความใน Website ของ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) โดยข้อมูลส่วนใหญ่ของบทความนี้มาจาก National Center for Environmental Health (NCEH) สามารถไปหาอ่านกันเต็ม ๆ ได้นะคะ ((NCEH), 2018) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความรู้ และความ เข้าใจในทางเดียวกัน และการปฏิบัติที่ถูกต้องเมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด หรือหากต้องรับมือกับอาวุธเคมีอย่างแก๊สน้ำตาหวังว่าบทความนี้จะช่วยได้ไม่มากก็น้อยค่ะ


จากเรื่องแรก ที่กล่าวไปว่ามีสารตั้งต้นที่นิยมใช้ในการผลิตแก๊สน้ำตา 2 ชนิดด้วยกัน ผู้เขียนเองก็อดคิดต่อไม่ได้ว่าทั้งที่มีสารตั้งต้นในการผลิตแก๊สน้ำตามมากมายที่ใช้กันในโลกนี้ แล้วในประเทศเรารัฐบาลเลือกใช้รุ่นไหน มีใครตอบได้ไหมคะ


จากข้อมูลในเว็บไซต์ของกองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาคที่ 2 ได้มีการกล่าวถึง การสลายการชุมนุม หรือ Riot Control ไว้ว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญได้ให้สิทธิในการชุมนุมประท้วงได้โดยสงบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็มีกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดำเนินการทั้งในด้านความปลอดภัยของบุคคล”


“แต่อย่างไรก็ตามหากกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงได้ก่อให้เกิดความรุนแรง มีการทำร้ายบุคคล ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นจนเกิดการจลาจลและไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ต้องใช้มาตรการตามกฎหมายเข้ามาแก้ไขปัญหาเหตุวิกฤตโดยต้องใช้ความระมัดระวัง อดทน และปฏิบัติตามขั้นต่าง ๆ ในการควบคุมฝูงชนให้กลับสู่ในภาวะปกติโดยเร็ว”


“และหากดำเนินการตามขั้นตอนแล้วเหตุการณ์ยังไม่สงบและมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรงขึ้นอย่างเป็นวงกว้าง อาจใช้กำลังในการเข้าสลายการชุมนุมเพื่อยึดพื้นที่คืนและให้การชุมนุมนั้นยุติลงแต่ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย”


นั่นแปลว่า หากมีการชุมนุมยังไงก็ต้องมี “เจ้าหน้าที่” ที่มาพร้อมอาวุธครบมือ มาเกี่ยวข้องค่ะ “ว้าวอุ่นใจไปเลยค่ะ” นอกจากนี้ทางข้อมูลของ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ ตำรวจภูธรภาค 2 ก็ยังได้กล่าวถึง หลักการและแนวทางในการ แก้ปัญหาการชุมนุมประท้วง โดยผู้เขียนขอสรุปมาให้ฟังดังนี้

  1. รับฟังอย่างมีเมตตาธรรม เพื่อประเมินสถานการณ์ความเดือดร้อนของประชาชน โดยใช้หลักเมตตาธรรม

  2. การแจ้งเตือน เพื่อแจ้งให้ทราบถึงขอบเขตการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การแจ้งเตือนต้องมีตั้งแต่แรก และทุก ระดับของการชุมนุม และต้องมีการประกาศขั้นตอนในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนให้ทราบก่อนทุกครั้ง

  3. การใช้หลักกฎหมาย กรณีหากผู้ชุมนุมเรียกร้องใช้วิธีการรุนแรง โดยกระทำผิดกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิ ผู้อื่น ให้ดำเนินการตามกฎหมาย

  4. การใช้กำลังสลายการชุมนุม กรณีการชุมนุมมีความรุนแรงมากขึ้นจน หากมีความจำเป็นต้องใช้กำลังสลายการ ชุมนุม หลังจากนั้นแล้วก็เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู ส่งตัวผู้บาดเจ็บ หรือดำเนินการต่าง ๆ ให้เกิดความปลอดภัยต่อบุคคล สถานที่ ที่เกิดเหตุ และควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในภาวะปกติ

ถึงอย่างไรก็ตามในการอธิบายหลักการการทำงาน โดยอ้างอิงกฎหมาย ต่าง ๆ ก็ยังไม่มีการระบุถึงรายละเอียด กระบวนการการทำงาน รวมไปถึงลักษณะอาวุธที่ใช้ในการควบคุมการชุมนุมเลยแม้แต่นิดเดียว



อ้างอิง

(NCEH), N. C. (2018, April 4). Riot Control Agent Poisoning. Retrieved from Centers for Disease Control and Prevention: https://emergency.cdc.gov/agent/riotcontrol/factsheet.asp

CDC, C. f. (2011, May 12). Centers for Disease Control and Prevention. Retrieved 8 6, 2020, from CHLOROACETOPHENONE (CN) : Riot Control/Tear Agent: https://www.cdc.gov/niosh/ershdb/emergencyresponsecard_29750033.html?fbclid=Iw AR3lIAHhEzgcY1OqFO7wdaEmvHsbBcocW-5VItD-kx7bBmsKZSbuarkYipU

ตำรวจภูธรภาค2), S. A. (n.d.). Retrieved August 6, 2020, from inv.p2.police.go.th: http://www.inv.p2.police.go.th/swat/riotcontrol.html



Illustration by Arnon Chundhitisakul

2,144 views1 comment

1 Comment


CBKM BOCU
CBKM BOCU
Nov 03

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPTU Machine ETPU Moulding…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

EPS Machine EPS Block…

AEON MINING AEON MINING

AEON MINING AEON MINING

KSD Miner KSD Miner

KSD Miner KSD Miner

BCH Miner BCH Miner

BCH Miner BCH Miner

Like
bottom of page